การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพรบ้านเขานาใน ตำบลต้นยวน อำเภอพนม จังหวัดสุราษฏร์ธานี

Main Article Content

สุนิษา กลิ่นขจร

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชนและกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร ศึกษาปัญหาการดำเนินงานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร และค้นหายุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชน ประชากรเป็น ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กรรมการ สมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักพัฒนาชุมชนสาธารณสุขอำเภอพนม นายกองค์การบริหารส่วนตำบล          ต้นยวน และสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลต้นยวน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 40 คน เครื่องมือเป็น สัมภาษณ์เชิงลึก สนทนากลุ่ม และ SWOT Anaylsis

            ผลการวิจัยพบว่า บริบทชุมชนและกลุ่มลูกประคบสมุนไพร ก่อตั้งขึ้นในปี  2543 ปัจจุบันมีสมาชิก 58  คน หลักเกณฑ์การรับสมาชิกเป็น การเปิดรับสมัครสมาชิกเปิดปีละครั้ง การบริหารกลุ่ม มีการประชุมปีละ 3 ครั้ง การประชาสัมพันธ์กลุ่มเข้าร่วมสัมมนากับหน่วยราชการ ร่วมกิจกรรมวันสตรีสากล ส่งผลิตภัณฑ์ประกวดและจำหน่ายในงานเทศกาลต่าง ๆในระดับอำเภอ จังหวัด และนำผลิตภัณฑ์ไปสาธิตตามเทศกาลหรือหน่วยงานที่ขอมาการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ เงิน SML ของหมู่บ้าน ได้รับการสนับสนุนเงินกู้ จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยี ตำบล ต้นยวน และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อ       การเกษตรกรรม  ปัญหาการดำเนินงานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพร  สมาชิกมาประชุมไม่ตรงต่อเวลาและ  ไม่พร้อมเพรียงกัน บางครั้งก็ขาดการประชุม เนื่องจากต้องประกอบอาชีพประจำวัน วัตถุดิบมีไม่เพียงพอในการผลิต ทำให้ให้การผลิตลูกประคบไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด และสมุนไพรอยู่ไกลจากแหล่งผลิต           ขาดเครื่องมือในการผลิตที่ทันสมัย การแปรรูปไม่ผ่านมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) และไม่ผ่านการอาหารและยา (อย.) ขาดการดูแลช่วยเหลือจากภาครัฐและไม่ต่อเนื่อง ขาดงบประมาณ และยุทธศาสตร์การพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจชุมชน กลุ่มผลิตภัณฑ์ลูกประคบสมุนไพร พบว่า ประเด็นยุทธศาสตร์เชิงรุก ขยายตลาดในผลิตภัณฑ์เดิม ขยายตลาดในผลิตภัณฑ์ใหม่ บริหารจัดการรวบรวมวัตถุดิบในชุมชน บริหารจัดการหาช่องทางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานในการประสานงานกับกลุ่มอื่น ประเด็นยุทธศาสตร์เชิงแก้ไข เชื่อมโยงเครือข่ายการผลิต ส่งเสริมชุมชนให้มีการปลูกสมุนไพรมากขึ้น ประเด็นยุทธศาสตร์เชิงป้องกัน พัฒนาคุณภาพการผลิตที่ถูกสุขลักษณะเป็นไปตามหลักสุขาภิบาลโรงงาน ประเด็นยุทธศาสตร์เชิงวิกฤตเพิ่มเครื่องจักรที่ทันสมัย การส่งเสริมการตลาดการโฆษณาประชาสัมพันธ์

Abstract

            The purpose of this study was to investigate a community context, small and micro community enterprise, and herbal ball product groups, performance problems, and search strategies for potential development of small and micro community enterprise. The sample was composed of a leader of a small and micro community enterprise, committee, members, and local leaders, community health developers in Phanom District, a leader, and members of Tambon Tonyuan sub district organization. The total sample was 40 persons. The research tools were deep interview, group discussion, and SWOT Analysis.

          The results showed that a community context, and herbal ball product groups was found in B.E.2543. At present, there were 58 persons. A criterion for membership was to subscribe once a year. A group management meeting was arranged three times a year. A group promotion of participants was to attend a seminar with the government officers, join an international women day, products competition and sales on various festival days both local and provincial events. Products were demonstrated by seasonal festivals or agency's request. Loan was supported by the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives, the Tambon Tonyuan Center for Technology Transfer and the Agricultural Land Reform Office. The problems of herbal small and micro community enterprise were that the members did not attend the meeting on time and uncoordinated. Sometimes they lacked of meetings due to daily occupations. There were not enough raw materials to produce herbal balls. They were insufficient to meet the needs of the market and herbs were far from manufacturers. They lacked of tools for modern production. Product transformation was not a community standard and did not follow the Food and Drug Administration. The lack of care and support from the government was ongoing. They did not have enough budgets. Strategic community enterprise development was not identified. Herbal ball product groups were found that they should have strategic proactive issues, original product expansion, new product expansion, material management gathered in community, and new channel products. Agency supports should coordinate with other groups. For strategic correction issues, networking products should be created and the community should promote to plant more herbal. For strategic protection, production and hygiene quality should be improved according to the sanitation factory rules. For strategic crisis issues, modern machinery and marketing and advertising promotion should be supported.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ