การสอนตรงร่วมกับสื่อวีดิทัศน์เพื่อเพิ่มความสามารถรับรู้อารมณ์ผู้อื่นของเด็กออทิสติก

Main Article Content

หทัยทิพย์ หนูมงกุฎ

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการรับรู้อารมณ์ผู้อื่นของเด็กออทิสติก ก่อนและหลังการสอนตรงร่วมกับสื่อวีดิทัศน์  และเพื่อศึกษาความคงทนของความสามารถในการรับรู้อารมณ์ผู้อื่นของเด็กออทิสติกหลังการทดลอง ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นเด็กออทิสติก กำลังศึกษาอยู่ที่ห้องเรียนคู่ขนานสำหรับบุคคลออทิสติก โรงเรียนวัดเสาธง อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 2 คน ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการวิจัยเชิงทดลอง กลุ่มเล็ก (Small n Design) ดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ สื่อวีดิทัศน์ และแบบประเมินความสามารถในการรับรู้อารมณ์ผู้อื่น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ

            ผลการวิจัยพบว่า 

            ความสามารถในการรับรู้อารมณ์ผู้อื่นของเด็กออทิสติก หลังการสอนตรงร่วมกับสื่อวีดิทัศน์สูงขึ้นกว่าก่อนการสอน  และมีความคงทนของความสามารถในการรับรู้อารมณ์ผู้อื่นของเด็ก ออทิสติก หลังการทดลองแล้ว เว้นระยะ 4 สัปดาห์ ดำเนินการประเมินอีกครั้ง

Abstract

               The  purposes  of  this  research  were  to  compare  autistic children’s ability  to perceive emotion of others before  and  after  direct instructions and video lessons and to observe the retention of autistic children’s ability of others. The samples were two autistic children from a parallel classroom of Watsaothong School, Bangplama District, Suphanburi Province. The research method was Small n design.  The  experiment  lasted  for  4  weeks  (3  days  a  week, 50  minutes a  day).  Instruments used in the research were activity plans, video lessons and perceive emotion of the others evaluation forms. The data were analyzed by percentage (%) .

                Results of the research indicated that  :

               Autistic children’s ability to perceive emotion of the others after direct instruction and video lessons were higher than those before teaching .  Also,  there  was  a persistence  in the  ability  of  autistic  children  to  perceive  emotion  of  the  others .

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ