สถานะ และความสำคัญของวิชาสังคมศึกษาระดับมัธยมศึกษา ในการสร้างพลเมือง หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

Main Article Content

เอกชัย ภูมิระรื่น

Abstract

บทคัดย่อ

               บทความวิจัยเรื่องสถานะ และความสำคัญของวิชาสังคมศึกษาในการสร้างพลเมืองหลังเหตุการณ์   14 ตุลาคม 2516 มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงสถานะ และความสำคัญของวิชาสังคมศึกษาโดยเน้นวิชาหน้าที่พลเมืองซึ่งเป็นวิชาย่อยในหมวดวิชาสังคมศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาในช่วงหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516ซึ่งเป็นยุคเปลี่ยนผ่านที่นำไปสู่ความแปลกแยกทางความคิดในหมู่นักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนผู้เป็นผลผลิตของระบบการศึกษาสมัยใหม่ โดยระบบการศึกษาที่รัฐได้ดำเนินการนั้นย้อนแย้งกับสภาวการณ์ทางการเมืองที่แท้จริงของประเทศ เพื่อให้ทราบว่าวิชาสังคมศึกษามีสถานะ และความสำคัญต่อการสร้างพลเมืองภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งมีปรากฏการณ์ทางสังคมที่ได้แสดงให้เห็นถึงประเด็นดังกล่าวอย่างชัดแจ้ง

            ผลการวิจัยพบว่า วิชาสังคมศึกษามีฐานะเป็นสื่อกลางในการสร้างเสริมความรู้ แนวคิดทางการเมือง และคุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีในแบบที่รัฐต้องการ ตามกรอบแนวคิดของหลักสูตรการศึกษาสมัยใหม่ที่รัฐกำหนดขึ้นมาตั้งแต่สมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และยังคงฐานะเช่นนี้เรื่อยมาจนถึงเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ซึ่งเป็นจุดเปลี่ยนที่นำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาในเวลาต่อมา และพบว่าเกิดการปรับปรุงหลักสูตรเพียงเฉพาะหมวดวิชาสังคมศึกษา เพื่อขยายกรอบแนวคิดในการสร้างพลเมืองดีที่พึงปรารถนาเพื่อให้สอดคล้องกับบริบททางการเมืองของประเทศ

Abstract

            A research document about status and importance of social studies to create citizens after the October 14, 1973 aims to study the status and the importance of the social studies, emphasizing Civics Duty which is a minor subject of social studies category in high school. In the latter event of October 14, 1973, which is the transition that led to the alienation of ideas among students and people who are a product of modern education system. The education system that the state was managing was contradictory to the real political situation of the country in order to know that social studies have a status and an importance of creating a citizen after October 14, 2516 and there was a social phenomenon that demonstrated such issues manifestly.

            The results showed that social studies as a medium to build the knowledge, political concepts and the characteristics of good citizens as the state requires. According to the conceptual framework of the modern curriculum which the state established since Field Marshal Sarit Thanarat's period and had remained its status until the events of October 14, 2516 which was the turning point that led to the reform of education later and it was found that there is an adjustment only in social studies curriculum in order to expand the concept of creating desirably good citizens to comply with the political context of the country.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ