การพัฒนาแบบวัดความตระหนักเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุทัยธานี เขต 1

Main Article Content

นิดาวรรณ บุญอินทร์
ฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์
พิกุล เอกวรางกูร

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบวัดความตระหนักเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนของนักเรียน         ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ คือ 1) เพื่อสร้างแบบวัดความตระหนักเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดในประเด็นของความตรงตามเนื้อหา          ความตรงตามโครงสร้าง อำนาจจำแนก และความเที่ยง 3) เพื่อกำหนดเกณฑ์ปกติสำหรับการแปลความหมายคะแนน 4) เพื่อจัดทำคู่มือการใช้แบบวัด โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสร้างเกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมายคะแนนเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 345 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) แบบวัดมีลักษณะเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ ประเภทสถานการณ์ 5 ตัวเลือก ตามระดับขั้นความตระหนักตามทฤษฎีของ Stamm et al.(2000)

               ผลการวิจัยพบว่า

               1.  แบบวัดความตระหนักเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนของนักเรียนระดับ

               2.  คุณภาพรายข้อของแบบวัดความตระหนักเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีค่าความสอดคล้อง (IOC) ของข้อคำถามตั้งแต่ 0.60 - 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.23 - 0.64 คุณภาพรายฉบับ ศึกษาความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory factor analysis) พบว่าโครงสร้างของแบบวัดมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยค่าไคสแควร์ (Chi-Square) ไม่มีนัยสำคัญ (p > .05) ที่ df เท่ากับ 355 มีค่าเท่ากับ 365.85 ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (Root Mean Square Error of Approximation: RMSEA) มีค่าเท่ากับ 0.009 ค่าดัชนีรากค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนเหลือมาตรฐาน (Standardized  RMR)มีค่าเท่ากับ 0.038 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (Goodness of Fit Index: GFI) มีค่าเท่ากับ 0.934 และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับค่าแล้ว (Adjusted Goodness of Fit Index: AGFI) มีค่าเท่ากับ  0.913 และมีความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.88  

               3. เกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมายคะแนนในรูปของคะแนนมาตรฐานทีปกติรวมทั้งฉบับมีค่า T5 – T74 

               4.  คู่มือการใช้แบบวัดที่จัดทำขึ้น มีความเหมาะสม

Abstract

            The objectives of this research were 1) to construct the awareness on global warming scale for 1-3 high school  students; 2) to validate the awareness on global warming scale 3) to establish local norms of the awareness on global warming scale 4) to construction manual of the awareness on global warming scale. The sample for the test validation and norms construction consisted of 345 1-3 high school students under Uthai Thani Primary Educational Service Area Office 1, academic year 2014. The sample were selected by Stratified Random Sampling

               The research results revealed that:

               1.  The awareness on global warming scale for 1-3 high school students comprised 30 items, aimed to assess 3 major elements; cause effect and solution of global warming. Each situational question with different 1-5 score choices.

               2.  The content validity of the awareness on global warming scale for 1-3 high school students, investigated by calculating the item objective congruence index (IOC), were in the range of 0.60-1.00 and all item had the discrimination index between 0.23-0.64. The construct validity of the awareness on global warming scale for 1-3 high school students was investigated by confirmatory factor analysis. The result revealed that the construct of the awareness on global warming scale was fit with the empirical data that had Chi-square 365.85 with 355 degree of freedom; standardized RMR was 0.038; RMSEA was 0.009; GFI was 0.934; AGFI was 0.913. The reliability of the test was 0.88

               3.  The local norms for the awareness on global warming scale for 1-3 high school students showed the the normalized T-score from T5 –T74

               4.  the manual for the awareness on global warming scale for 1-3 high school students was suitable and convenient for usebility, easy to understand and fully important composition.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ