การศึกษารูปแบบพหุลักษณ์ของทัศนศิลป์ไทยในภาคใต้

Main Article Content

สมพร ธุรี

Abstract

บทคัดย่อ

            การศึกษารูปแบบพหุลักษณ์ของทัศนศิลป์ไทยในภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์อิทธิพลร่วมของวัฒนธรรมที่หลากหลาย อันเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญต่อการแสดงออกของรูปแบบทัศนศิลป์ไทยในภาคใต้ เพื่อการวิเคราะห์รูปแบบลักษณะเฉพาะ เทคนิคเชิงช่าง คติความเชื่อ เนื้อหาเรื่องราว การจัดองค์ประกอบ ลวดลาย และอัตลักษณ์ที่สะท้อนสังคมศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย และเพื่อนำองค์ความรู้ในการวิจัยจัดทำหนังสือ “ทัศนศิลป์ไทยในภาคใต้” ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ โดยวิธีการสังเกตศึกษา วิเคราะห์สังเคราะห์จิตรกรรมไทย สถาปัตยกรรมไทย และประติมากรรมไทยในวัดสมัยรัตนโกสินทร์ (รัชกาลที่1-3 จำนวน 5 วัดและรัชกาลที่ 4-6 จำนวน 13วัด) จากผลการศึกษาพบว่า

            ปัจจัยที่มีอิทธิพลร่วมทางศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลายมีผลต่อการแสดงออกของรูปแบบทัศนศิลป์ไทยในภาคใต้ 1)ความเชื่อความศรัทธาต่อทัศนศิลป์ที่ปรากฏในวัดต่างๆของคนหลายกลุ่มในเขตพื้นที่ภาคใต้ 2)ความเป็นผู้นำของผู้ปกครองบ้านเมือง 3) สภาพภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ จากการศึกษาในแต่ละรูปแบบของทัศนศิลป์ไทยมีการผสมผสาน 4 ลักษณะ ได้แก่ 1) เกิดจากการจากผสมผสานทัศนศิลป์ 2) เกิดจากการรวมตัวเป็นหนึ่งเดียวในงานชิ้นเดียวกัน 3) เกิดจากช่างท้องถิ่นมีส่วนร่วมหรือมีผลประโยชน์ในการสร้างวัด 4)เกิดจากการมีพื้นที่อยู่ในชุมชนที่หลากหลายทั้งวัฒนธรรม สังคม การอยู่อาศัย การคมนาคม การเมืองการปกครอง ผู้คน ทำให้เกิดพหุลักษณ์ในการแสดงออกของรูปแบบทัศนศิลป์ไทยในภาคใต้

            รูปแบบพหุลักษณ์ของทัศนศิลป์ไทยในภาคใต้ ประกอบด้วยรูปแบบช่างหลวงภาคกลาง รูปแบบศิลปะจีน รูปแบบศิลปะตะวันตก รูปแบบศิลปะประเพณีในรัชกาลที่ 4 รูปแบบศิลปะฮินดู-ชวา รูปแบบศิลปะมุสลิม และรูปแบบศิลปะท้องถิ่นภาคใต้ ซึ่งมีรูปแบบการผสมผสานความหลากหลายและการประกอบกันของความโดดเด่นของเนื้อหาเรื่องราว เทคนิคเชิงช่าง การจัดองค์ประกอบ ลวดลาย และอัตลักษณ์ในผลงานจิตรกรรมไทย สถาปัตยกรรมไทย และประติมากรรมไทยของการเชื่อมโยงความสัมพันธ์กันที่สะท้อนสังคมศิลปวัฒนธรรมที่หลากหลาย ดังนี้ 1)การผสมผสานทางทัศนศิลป์เป็นชิ้นเดียวกัน 2)การผสมผสานทัศนศิลป์แบบแยกส่วน 3)การผสมผสานคตินิยมแบบหนึ่งแต่ถ่ายทอดให้ปรากฏอีกแบบหนึ่ง 4)การใช้รูปแบบเดิมดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ใช้สอยทางการสร้างสรรค์ใหม่

          องค์ความรู้ที่มีคุณค่าและมีความสำคัญในความหลากหลายของรูปแบบทัศนศิลป์ไทยในภาคใต้ ที่ได้สะท้อนและแสดงออกถึงสังคม คติความเชื่อ ภูมิปัญญา ประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมของภาคใต้ฝั่งทะเลทิศตะวันออกอ่าวไทย ซึ่งควรแก่การอนุรักษ์ สืบสาน พัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรมต่อไป

Abstract

               The objectives of Multi – Cultural Study of Visual Thai Arts in Southern Thailand were to : 1) analyze the co– influences of multi – cultural which was inspired to express of variety models of visual Southern Thai Arts, 2) analyze the specific models of characters, techniques, beliefs, contents, stories, pattern settings, arts, and identical unique which reflect to be multi – cultural in variety ways, and 3) apply the research knowledge to create a specific multi – cultural visual Thai Arts book for promotion Tourism of Thai Arts in the South us well.

               The result of the study, by using observation, analyzing, Synthesizing all aspects of mural paintings, Thai architectures, fine arts in the reign of King Rama 1 – 3 about 5 temples, and King Rama 4 – 6 about 15 temples were as followings: the co – influences of multi – cultural of visual Thai arts in the south were resulted from: 1)the beliefs and faiths to visual cultural arts in the temples, 2)the leadership of the governors, and 3)the landscape and historical background which were appeared in 4 subtypes of 3.1)from combination of visual fine arts, the combination of several to be one of uniqueness, 3.2)The combination of many ideas become to one piece, 4)the co–workers of local artists joined to work together in the temples, and the areas in the community are consisted of many groups of people, society, living, communication, political and government appeared to be multi – cultural aspects of Southern Thai arts.

               The model of multi – cultural of visual Thai Arts in Southern Thailand consisted of many patterns of royal artists from the middle region, Chinese arts, Western arts, Rama 4 arts model, Hindu – chawa arts, Muslim arts, and local arts in the south which were combined and became, Uniqueness of prominent characters of arts of Thai Fine arts, Thai architecture and sculpture joined together in reflection of multi – cultural as follows: 1)the combination of art concepts become to be unique, 2)the joint of separation concept to be one concept, 3)the combination of original beliefs and transfer to be another, 4)and the use of changing from old patterns to be new pattern suitable to the application.

               The values and the importance of the research knowledge Which appeared in many patterns of Multi – cultural of visual Thai Arts in southern Thailand and reflected the expression of social, beliefs, local wisdom, history arts, culture in the South of East side of Gulf of Thailand is suitable to study and reserve to be Unique of the country and should promote and develop for Thai Tourism as well. 

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ