การจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย: บทเรียนจากผลการประเมินในสามเมืองสมุทร

Main Article Content

สิงหนาท แสงสีหนาท
เหมือนแก้ว จารุดุล

Abstract

บทคัดย่อ

               เนื่องด้วยการเคหะแห่งชาติมีความมุ่งหมายให้ท้องถิ่นรับมอบภารกิจการพัฒนาที่อยู่อาศัยภายใต้พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 โครงการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยและแผนป้องกัน/แก้ไขปัญหาชุมชนแออัดจึงได้ถูกจัดทำขึ้นในจังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดสมุทรสงครามในปีงบประมาณ 2552 งานวิจัยนี้ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยการเคหะแห่งชาติจึงทำการตรวจสอบกระบวนการดำเนินงานและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ทำการประเมินผลสัมฤทธิ์ ตลอดจนทำการบ่งชี้ถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จหรือไม่สำเร็จของโครงการดังกล่าว

               การวิเคราะห์เชิงคุณภาพถูกนำมาใช้เพื่อทำความเข้าใจตัวแปรต่างๆและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเหล่านั้นที่มีต่อการดำเนินงานโครงการ และการวิเคราะห์ทางสถิติถูกนำมาใช้ในการเปรียบเทียบตัวแปรข้างต้น นอกจากนั้น ตัวชี้วัดถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการประเมินบริบท ปัจจัยเข้า กระบวนการ ผลผลิต ผลลัพธ์ และผลกระทบซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จระดับต่างๆของโครงการดำเนินงานในสามจังหวัด

            ถึงแม้ว่าโครงการของการเคหะแห่งชาติได้ดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย แผนป้องกันและแก้ไขปัญหาชุมชนแออัด และเสริมสร้างสมรรถนะในการพัฒนาที่อยู่อาศัย แต่ความมุ่งหวังให้องค์กรท้องถิ่นและชุมชนดำเนินงานจัดทำแผนอย่างต่อเนื่องนั้นกลับไม่ประสบความสำเร็จ ข้อค้นพบของการวิจัยชี้ให้เห็นว่าอุปสรรคของโครงการ คือ การเร่งรัดให้ได้มาซึ่งแผนงานต่างๆของการพัฒนาที่อยู่อาศัยในขณะที่กระบวนการพัฒนาของท้องถิ่นยังไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเข้มแข็งเพื่อการดำเนินงานเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้ การนำแผนไปสู่การปฏิบัติจึงไม่เกิดขึ้นและกระบวนการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นก็ได้ยุติลงในปัจจุบัน ข้อเสนอแนะที่มีต่อการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม คือ การพิจารณาถึงการกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นอย่างมีแบบแผนควบคู่กับการดำเนินงานให้ได้มาซึ่งแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างเป็นลำดับขั้น การเพิ่มขีดความสามารถให้แก่ภาคภาคีต่างๆในการพัฒนาที่อยู่อาศัยยังเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องดำเนินการ และการเคหะแห่งชาติควรเป็นผู้สนับสนุนในการเผยแพร่ สนับสนุน และดูแลกระบวนการกระจายอำนาจที่เกี่ยวเนื่องกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยในระยะยาว เพื่อให้บรรลุถึงกระบวนการจัดทำแผนพัฒนาที่อยู่อาศัยและแผนป้องกัน/แก้ไขปัญหาชุมชนแออัดอย่างยั่งยืน

Abstract

            With respect to the Power Delegation Act of 1999, an aim of the National Housing Authority of Thailand (NHA) is to enable local authorities to undertake planning processes of housing development. The Housing Development Planning and Slum Upgrading/Prevention Projects in this case were carried out for Samut Prakarn, Samut Sakorn and Samut Songkram provinces in the fiscal year 2009. Funded by NHA, this research attempts to investigate those projects’ processes and outcomes, to evaluate overall success, and to indicate factors fulfilling, and unfulfilling, the projects.

               Qualitative methods of analysis were implemented to specify numbers of, and relationships between, variables and quantitative methods were applied for examining them. In addition, a set of indicators was established to evaluate the projects’ context, input, process, output, outcome and impact resulting in their levels of achievement.

            Notwithstanding that the NHA projects provided housing development plans, slum upgrading and prevention schemes, and planning knowledge and skill for local stakeholders, failures are noticed of the assignment that local authorities and communities have to endure the plans. Identified by the research findings, one of project obstacles is that the plans had been promptly produced while local development processes to deliver them were not yet robust. Scheme implementations in this sense are impossible and local participation have been eventually terminated. The recommendation to secure authority and community participation is that a ladder of power delegation should be gradually proceeded and the plans must be locally developed by degrees. To sustain the planning process of housing development and slum upgrading/prevention, the capacity building for key stakeholders is crucial and NHA should be a main patron in promoting, supporting and monitoring this long-run process of decentralization.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ