การทำงานหลังเกษียณอายุราชการของบุคลากรสายวิชาการ สังกัดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อรนุช หงษาชาติ
ชีพสุมน รังสยาธร
อภิชาติ ใจอารีย์

Abstract

บทคัดย่อ

               การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการทำงานหลังเกษียณอายุราชการของบุคลากรสายวิชาการ ซึ่งครอบคลุม 1) การเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุราชการของบุคลากรสายวิชาการ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานหลังเกษียณอายุราชการของบุคลากรสายวิชาการ และ 3) รูปแบบการทำงานหลังเกษียณอายุราชการของบุคลากรสายวิชาการ การวิจัยใช้การวิจัยแบบผสานวิธีที่ใช้ทั้งข้อมูลเชิงปริมาณ และข้อมูลเชิงคุณภาพ  แบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์การทำงานหลังเกษียณอายุของบุคลากรสายวิชาการ  โดย ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจาก บุคลากรสายวิชาการที่มีหน้าที่สอน ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 80 คน จาก 3 สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการถดถอยพหุคูณ และระยะที่ 2 การศึกษาสภาพจริงของการทำงานหลังเกษียณอายุของบุคลากรสายวิชาการ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก กับกลุ่มบุคลากรสายวิชาการที่มีหน้าที่สอน ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 23 คน จาก 3 สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ในเขตกรุงเทพมหานคร  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัย พบว่า  บุคลากรสายวิชามีการเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุในด้านสุขภาพมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านความรู้ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ ตามลำดับ เมื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลพื้นฐานกับการเตรียมความพร้อมก่อนราชการ พบว่า อายุมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุราชการ และการวางแผนการใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุราชการ  ปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานหลังเกษียณอายุราชการตามความคิดเห็นของบุคลากรสายวิชาการ มากที่สุด คือ ปัจจัยส่วนบุคล  รองลงมา คือ ปัจจัยด้านวิชาการ ปัจจัยด้านสังคม และปัจจัยด้านเศรษฐกิจ ตามลำดับ  รูปแบบการทำงานหลังเกษียณอายุราชการของบุคลากรสายวิชาการ พบว่า  ประเภทของงานที่เหมาะสม คือ งานด้านวิชาการ และงานอื่นๆ ที่ไม่เน้นการใช้แรงกาย  และลักษณะของงานที่เหมาะสม ควรเป็นงานที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ งานที่สอดคล้องกับความชอบ ความสนใจ และความสามารถ และงานที่มีความยืดหยุ่น ไม่มีข้อผูกมัด

 

Abstract

            The purpose of this research was to investigate working after retirement of academic staff, including 1) retirement preparation of academic staff; 2) factors influencing working after retirement of academic staff and 3) patterns of working after retirement of academic staff. The combined quantitative-qualitative was conducted in two phases. The first phase of the study aimed at analyzing working after retirement of academic staff, using questionnaire to gather data from 80 academic staff aged 60 years old and over from 3 public universities in Bangkok Metropolis. Descriptive statistics, correlation and multiple regression analysis were employed to analyze quantitative data. The second phase intended to study actual state of working after retirement of academic staff. In-depth interviews were used to collect data from 23 academic staff aged 60 years old and over from 3 public universities in Bangkok Metropolis. Content analysis was employed to analyze qualitative data.

            The results showed that the most important preparation for retirement indicated by academic staff were health features, knowledge features, residence features, social features and economic features, respectively. Analysis of relationships between personal features and retirement preparation revealed that age was negatively correlated with retirement preparation whereas planning for life after retirement was positively correlated with retirement preparation. Factors influencing working after retirement rated by academic staff were personal factors, academic factors, social factors and economic factors, respectively. Appropriate works for academic staff were academic works and other works that required less physical strength. Characteristics of suitable works for academic staff should be harmless to health, in line with the preferences, interests and abilities, and flexible and have no commitment.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ