A Study on Process for Developing Research Skills in the Aspect of Logical Thinking by Using Exercises as Teaching Materials of Students in Faculty of Education at Phetchaburi Rajabhat University
Main Article Content
Abstract
The objective of this research was to develop research skills in the aspect of logical thinking by using exercises as teaching materials of students in Faculty of Education at Phetchaburi Rajabhat University. The research samples consisted of 197 first year students, majoring in social studies and physical education, who were studying Thai Education and Educational Laws. There were three steps in conducting research, namely step 1 identification of logical thinking elements, step 2 construction of relationship among those elements, and step 3 application of logical thinking in problem solving. The research tools were teaching materials consisting of 12 exercises for practice. The quantitative data were analyzed by using frequency, percentage, standard deviation, mean where X means 100% scores, Y means 50–99% scores and Z means less than 50% and independent t-test.
The research results were as follows:
1. For the percentage of students being developed on research skills in the aspect of logical thinking at the levels of X, Y, and Z, it was found that, when considered through step 3, percentage of students in each major at X level overall increased and the percentages of students majoring in social studies and physical education at this level were 78.61 and 68.35 respectively. The percentages of students in both majors at X level in step 1, 2 and 3 were 3.02, 8.48 and 73.46, at Y level were 94.94, 82.74 and 22.98 and Z level were 2.01, 8.72 and 4.86 respectively.
2. The mean scores of research skills in the aspect of logical thinking of students majoring in social studies and of those majoring in physical education in step 1 were different with statistical significance at the .01 level, whereas those in step 2 and 3 were different without statistical significance.
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการวิจัยด้านการคิดเชิงเหตุและผลด้วยเอกสาร ประกอบการสอนประเภทแบบฝึก ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย นักศึกษาชั้นปีที่1 สาขาสังคมศึกษาและสาขาพลศึกษา ที่เรียนในรายวิชาการศึกษาไทยและ กฎหมายการศึกษา รวม 197 คน ในการวิจัยนี้สร้างแบบฝึก 3 ขั้นตอน ได้แก่ การจำแนกองค์ประกอบของการคิดเชิงเหตุและผล การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบ และการประยุกต์ใช้ความคิดเชิงเหตุและผลในการ แก้ปัญหา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เอกสารประกอบการสอนประเภทแบบฝึก จำนวน 12 แบบฝึก การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย โดยที่ X,Y และ Z หมายถึง มีคะแนนร้อยละ 100, 50 - 99 และน้อยกว่า 50 และการวิเคราะห์ค่าทีแบบอิสระ
ผลการวิจัยพบว่า
1. ร้อยละของนักศึกษาที่ได้รับการพัฒนาทักษะการวิจัยด้านการคิดเชิงเหตุและผลจากระดับ X, Y และ Z เมื่อพิจารณาถึงขั้นที่ 3 มีร้อยละของระดับ X ที่เพิ่มขึ้น โดยรวมแต่ละสาขา พบว่า เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ นักศึกษาสาขาสังคมศึกษา เท่ากับ 78.61 และสาขาพลศึกษา เท่ากับ 68.35. โดยรวม 2 สาขาจากขั้นที่ 1 ถึงขั้นที่ 3 มีร้อยละของระดับ X เท่ากับ 3.02, 8.48 และ 73.46 ร้อยละของระดับ Y เท่ากับ 94.94, 82.74 และ 22.98 และร้อยละของระดับ Z เท่ากับ 2.01, 8.72 และ 4.86
2. การวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของการพัฒนาทักษะการวิจัยด้านการคิดเชิงเหตุและผลขั้นที่ 1 ของนักศึกษาสาขาสังคมศึกษา และสาขาพลศึกษา พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ขั้นที่ 2 และ 3 มีความแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ