การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์: กรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์สิรินธร ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

Main Article Content

ธณัศวัล กุลศรี

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินการพัฒนา ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ และแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์สิรินธร ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหารเทศบาลตำบลโนนบุรี เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพิพิธภัณฑ์สิรินธร เจ้าหน้าที่สำนักงานศิลปากรที่ 9 ขอนแก่น นักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว และผู้นำชุมชนในเขตเทศบาลตำบลโนนบุรี จำนวน 60 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยนำเนื้อหาที่ได้ มาเรียบเรียงเชิงพรรณนา อธิบายปรากฏการณ์ที่ศึกษาด้วยถ้อยคำที่ต่อเนื่อง และครอบคลุมกรอบการวิเคราะห์ที่กำหนด

          ผลการวิจัยด้านสภาพการดำเนินงานพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์สิรินธรโดยพิจารณาจากองค์ประกอบ 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการเงินและทรัพยากร ด้านคุณภาพการให้บริการแก่นักท่องเที่ยว ด้านการเรียนรู้และพัฒนาเครือข่าย และด้านกระบวนการมีส่วนร่วม พบว่า พิพิธภัณฑ์สิรินธรมีสภาพการดำเนินงานที่สามารถพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ได้ ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาการ คือ งบประมาณมีจำกัดเฉพาะเพื่อการศึกษาวิจัย อนุรักษ์ เก็บรวบรวมตัวอย่างซากไดโนเสาร์ ขณะที่การให้บริการและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวก็ยังไม่สามารถสร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวได้ การบริหารจัดการขาดเครือข่ายการเรียนรู้และพัฒนาในกลุ่มปราชญ์ชาวบ้านหรือนักเรียนและเยาวชนรุ่นใหม่ ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวน้อย แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ของพิพิธภัณฑ์สิรินธรให้ก้าวหน้า คือ การจัดทำแผนแม่บทในการพัฒนาให้ครอบคลุมการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ ควรมีการพัฒนา ปรับปรุงสินค้าบริการและปัจจัยสนับสนุนการท่องเที่ยวในด้านต่างๆ ได้แก่ คุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่ การปรับภูมิทัศน์ กำหนดเขตพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ เพิ่มการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่าง ๆ จัดระเบียบพื้นที่จอดรถ ดูแลความสะอาดของห้องน้ำ สนับสนุนให้คนในชุมชนมีรายได้จากการขายสินค้าให้นักท่องเที่ยว และการสนับสนุนคนในชุมชนให้เข้าใจและร่วมมือร่วมใจในการสร้างเอกลักษณ์ของท้องถิ่น

 

          The objective of this research was to study the implementation of the development, problem and obstacle in developing historical tourism and guidelines for potential development of historical tourism of Sirindhorn Museum. Data was collected by means of in-depth interview with 60 key informants,including the executives of Non Buri Municipality, performing officers of Sirindhorn Museum, officers of the 9th Regional Office of Fine Arts, Khonkaen, tourists and tour operators, and community leaders in Non Buri Municipality. Descriptive research was the methods of data analyzing to describe the studied phenomenon with constant and comprehensive content.

          The following were the results of potential development implementation of historical tourism of Sirindhorn Museum, based on four factors: finance and resources, service quality provided to tourists, learning and network development, and participatory process:The implementation of Sirindhorn Museum could be developed as historical destination. Problems and obstacles of the development was the budget that limited merely to the study, conservation and collection of dinosaur bone carcass. Tourism services and facilities were not impressive for the tourists. There were lack of learning network and development among local philosophers or students and young generation. There was small number of local public participation in developing tourism destination. The guidelines for potential development of historical tourism of Sirindhorn Museum should consist of: preparation of a comprehensive master plan for historical tourism; improvement of goods, services and other factors that would support tourism, such as, service quality of officers, landscape improvement, zoning of historical destinations, addition of publicity through media, organizing car park, maintaining the cleanliness of bathroom, encouraging people in the community to earn income from selling goods to tourists, as well as to understand and participate in creation of local identity.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ