Theory, Analysis and Design development of the spatial character: A Case study of Galayani Vadhana district, Chiang Mai

Main Article Content

Chanon Wasinghon

Abstract

          This article is intended to present the educational process and the creation of a unique Galayani Vadhana district, Chiang Mai Province. Emphasising in development of three main elements: 1. The nature and environment 2. Belief 3. Karen's lifestyle and culture, Which are interrelated unity and intended to express the magnitude of what is hidden to the public. The presentation of the correct allocation between decoration and structure to the beauty of the actual and the essence of the insert itself in the physical environment to show the unique way of life that is tuned to. consistent with the culture and environment, with important research question is to create a unique look to the community or an area that is "Built" to "Show" the wisdom and well-being of the people who owned the area.

          The study consists of the area to understand the context and environment in the Galayani Vadhana district, community-depth interviews to understand. The data was analysed and synthesised by theory of Contextualism: The various elements of the community, Holism: A holistic community and Pluralism: pushing the local expression of the nature of identity more clearly. And lastly to develop a design and contributes to the unique spatial further.

          The study found the “Pine Cone” as a representative of the media or Galayani Vadhana district since the community environment is the largest pine forest of the country. People in the community are quite familiar with the life cycle of the pine tree and the newly for selected for the pine cone which were engagement with Karen forest that concentrated a forest preservation.

          The creation of a state "Representative" or "Symbolic" in today by design "Mats" that reflects the cultural characteristics. Communication with internal and external social Contributes to the awareness and understanding of the identity of the greater community. “Mats” are the elements of “Temporary conditions" while used “Grafting” concept is further to develop biological pathway between the views of people in society who believe differently. By a combination of the physical representation of the community's way of tribal culture which. Causing a dimensional design that reflects the cultural landscape of the Galayani Vadhana district evolution and recognition of the community. That may also not understand the nature of the work as it should. But on the other hand, when the exchange of ideas. Procedures and development work. It used found that overall satisfaction with the work that has maintained a culture of Karen unfold them as well.

 

          บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอถึงขั้นตอนการศึกษาและขั้นตอนการสร้างสรรค์เอกลักษณ์ ของอำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีการพัฒนาข้อมูลจาก 3 องค์ประกอบหลัก ประกอบด้วย 1. ธรรมชาติและสภาพแวดล้อม 2. คติ ความเชื่อของชาวกะเหรี่ยง 3. วิถีชีวิตและประเพณีวัฒนธรรม ซึ่งทั้งหมดมีความสัมพันธ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อการแสดงออกถึงมิติของสิ่งที่ซ่อนเร้นสู่สาธารณะ รวมทั้งการนำเสนอการแก้ไขให้ถูกต้องสำหรับการจัดสรรระหว่างการประดับตกแต่งและโครงสร้างจนถึงความงามกับความจริงที่เกิดขึ้นและการแสดงสาระสำคัญของการแทรกตัวในกายภาพของ สภาพแวดล้อม เพื่อแสดงออกถึงเอกลักษณ์วิถีชีวิตที่ปรับให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมโดยมีคำถามวิจัยที่สำคัญคือการสร้างสรรค์ลักษณะเฉพาะให้กับชุมชนหรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งนั้นเป็นการ “สร้าง” เพื่อ “แสดงออก” ถึงความเป็นอยู่และภูมิปัญญาของคนผู้เป็นเจ้าของพื้นที่

          ขั้นตอนการศึกษาวิจัย ประกอบด้วยการลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจบริบทและสภาพแวดล้อมภายในอำเภอกัลยาณิวัฒนา การสัมภาษณ์ชุมชนเพื่อทำความเข้าใจเชิงลึก จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ด้วยทฤษฎีบริบทนิยม ศึกษาองค์ประกอบต่างๆของชุมชน, การศึกษาแบบองค์รวมให้เห็นภาพรวมของชุมชน, ทฤษฎีพหุนิยม เพื่อการผลักดันความเป็นท้องถิ่นให้แสดงออกถึงลักษณะของตัวตนที่ชัดเจนมากขึ้น และนำมาพัฒนาเป็นงานออกแบบ เพื่อก่อให้เกิดเอกลักษณ์เชิงพื้นที่ต่อไป

          ผลการศึกษาพบว่า “ลูกสน” เป็นสื่อหรือตัวแทนของอำเภอกัลยาณิวัฒนาเนื่องด้วยสภาพแวดล้อมของชุมชนเป็นผืนป่าสนขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ประชาชนในชุมชนมีความรู้สึกผูกพันทั้งทางความรู้สึกและการใช้ชีวิตเป็นอย่างมาก การ “เกิดใหม่” ของลูกสนเปรียบเสมือน “ผล” หรือตัวแทนของความผูกพันของผืนป่ากับชาวกะเหรี่ยงที่ทำหน้าที่รักษาป่าตลอดมา

          การสร้างสรรค์สภาวะ “ตัวแทน” หรือ “สัญลักษณ์” ในยุคสมัยปัจจุบัน โดยการออกแบบ “เสื่อ” ที่มีลักษณะสะท้อนภาพลักษณ์ของวิถีทางวัฒนธรรม สื่อสารกับสังคมภายในและภายนอก เพื่อก่อให้เกิดการรับรู้และเข้าใจตัวตนของชุมชนมากขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นองค์ประกอบใน “สภาวะร่วมสมัย” โดยใช้การตัดต่อและการแทรกตัว ที่เป็นแนวคิดทางชีววิทยามาพัฒนาต่อยอดระหว่างวิถีกับมุมมองจากคนในสังคมที่มีความเชื่อแตกต่างกัน โดยมีความประสมประสานระหว่างตัวแทนทางกายภาพของชุมชนกับวิถีของวัฒนธรรมชนเผ่าที่เกิดขึ้น ก่อให้เกิดมิติทางการออกแบบที่สามารถสะท้อนภูมิวัฒนธรรมของอำเภอกัลยาณวัฒนาได้และการรับรู้ของคนในชุมชน พบว่าอาจจะยังมีความไม่เข้าใจในลักษณะใหม่ของผลงานเท่าที่ควร แต่ในทางกลับกันเมื่อได้มีการแลกเปลี่ยนถึงความคิด ขั้นตอนและการพัฒนางานแล้ว พบว่าภาพรวมมีความพึงพอใจในชิ้นงานที่ยังคงรักษาวิถึทางวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงไว้ได้เป็นอย่างดี

Article Details

Section
บทความ : International