การประยุกต์ใช้เทคนิคการออกแบบเพื่อการประกอบ (DFA) ในการปรับปรุงกล่องชุดของขวัญเครื่องสำอาง

Main Article Content

มณฑลี ศาสนนันทน์
จีรานุช บุดดีจีน

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงแบบบรรจุภัณฑ์กล่องชุดของขวัญ เครื่องสำอางและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการออกแบบในปัจจุบันกับผลการปรับปรุงโดยใช้เทคนิค การออกแบบเพื่อการประกอบ สาเหตุที่เลือกชุดกล่องของขวัญเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากจะต้องอาศัย กระบวนการประกอบเป็นส่วนสำคัญ จึงเหมาะกับการปรับปรุงด้วยเทคนิคดังกล่าว ในการวิเคราะห์ผล การปรับปรุงนั้น งานวิจัยนี้ได้กำหนดตัวชี้วัดสำหรับประเมินความสำเร็จในการปรับปรุงออกเป็น 6 อย่าง ได้แก่ 1) จำนวนชิ้นส่วน 2) ขั้นตอนการประกอบผลิตภัณฑ์ 3) เวลาที่ใช้ในการประกอบ 4) ต้นทุนแรง งานที่ใช้ในการประกอบ 5) ดัชนีชี้วัดแบบบูธรอยด์ – ดิวเฮอร์ส และ 6) ดัชนีชี้วัดแบบลูคัส ผลการศึกษา พบว่า การประยุกต์ใช้เทคนิคการออกแบบเพื่อการประกอบ สามารถช่วยปรับปรุงแบบของบรรจุภัณฑ์ให้ ดีขึ้นดังนี้ ชิ้นส่วนลดลงจาก 36 ชิ้น เหลือ 23 ชิ้น ขั้นตอนการประกอบลดลงจาก 16 ขั้นเหลือ 13 ขั้น เวลาที่ใช้ในการประกอบลดลงจาก 264.47 วินาที เหลือ 176.43 วินาที ต้นทุนแรงงานที่ใช้ในการ ประกอบเดิมเป็น 2.612 บาทใช้จำนวนคน 24 คน หลังปรับปรุงแบบลดลงเหลือ 1.116 บาท ใช้จำนวน คนลดลงเหลือ 19 คน เมื่อนำผลการปรับปรุงไปคำนวณหาประสิทธิภาพในการประกอบแบบบูธรอยด์ – ดิวเฮอรส์พบว่าประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจาก 12.48 % เป็น 18.7 % และเมื่อคำนวณหาประสิทธิภาพในการ ประกอบแบบลูคัสพบว่าประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจาก 30.5 % เป็น 47.8 % ดัชนีวิเคราะห์การหยิบจับและ การป้อนลดลงจาก 5.39 เหลือ 3.4 ดัชนีการวิเคราะห์การยึดลดลงจาก 9.973 เหลือ 7.71 ผลการศึกษา สามารถสรุปได้ว่าการปรับปรุงแบบบรรจุภัณฑ์โดยนำเทคนิคการออกแบบเพื่อการประกอบมาประยุกต์ ใช้ ได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการออกแบบให้สูงขึ้น เมื่อเปรียบเทียบดัชนีชี้วัดทั้งสองแบบในแง่ของการ ใช้งาน พบว่าดัชนีทั้งสองแบบให้ผลการประเมินสอดคล้องกัน แต่ดัชนีแบบลูคัสจะใช้งานง่ายกว่าดัชนีแบบบูธรอยด์-ดิวเฮอร์สเล็กน้อยเนื่องจากมีเกณฑ์การประเมินที่เข้าใจง่ายกว่า นอกจากนี้ดัชนีแบบลูคัสจะ ชี้ให้เห็นจุดที่ควรปรับปรุงได้ชัดเจนกว่า

 

Abstract

This article is aimed at demonstrating the application of Design for Assembly (DFA) techniques in the redesign of cosmetic gift set package. The design improvement is then compared with existing design by adopting six criteria: (1) the number of parts, (2) the number of assembly steps, (3) assembly time, (4) assembly cost, (5) Boothroyd-Dewhurst assembly evaluation index, and (6) Lucus assembly evaluation index. It was found that DFA helps to improve the overall design in all the six criteria as follows. The number of parts was reduced from 36 to 23. The number of assembly steps was reduced from 16 to 13. The assembly time was decreased from 264.47 to 176.43 seconds. The cost of assembly was down from 2.612 baht to 1.116 baht, using fewer number of workers (from 24 to 19 workers). As for the Boothroyd- Dewhurst assembly evaluation index, the DFA index was increased from 12.48% to 18.7 %, indicating design improvement. The Lucus assembly evaluation index was increased from 30.5% to 47.8%. The handling and feeding index was reduced from 5.39 to 3.4, and the fitting index was reduced from 9.973 to 7.71, indicating better handling and feeding efficiency. It can be concluded that DFA techniques can actually improve design efficiency in all the criteria. In the viewpoint of the writers, although both techniques yield similar results, the Lucus technique seems to be slightly more simple due to its straightforward criteria and its ability to clearly indicate the improvement areas.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ