การดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวลัวะบ้านป่ากำ อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน

Main Article Content

ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล
สุธานี มะลิพันธ์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาการดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวลัวะบ้านป่ากำครั้งนี้ มีวัตถุ ประสงค์เพื่อศึกษาการดำรงอยู่และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวลัวะบ้านป่ากำทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการปกครอง โดยใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบ สัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง การสัมภาษณ์ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่าชาวลัวะ บ้านป่ากำเป็นกลุ่มชนที่มีอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ที่โดดเด่น กลุ่มหนึ่งในจังหวัดน่าน โดยมีวิถีชีวิตแบบ พึ่งพิงธรรมชาติ เนื่องจากมีวัฒนธรรม ประเพณีเป็นของตนเองด้วยการสืบทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีก รุ่นหนึ่ง ปัจจุบันชาวลัวะบ้านป่ากำมีวิถีชีวิตอยู่แบบดั้งเดิม แต่มีส่วนหนึ่งที่มีวิถีชีวิตที่เริ่มเปลี่ยนแปลงไป จากอดีต วิถีชีวิตที่ยังคงดำรงอยู่ ได้แก่ ลักษณะบ้านเรือน ความเชื่อเรื่องการนับถือผี ประเพณีต่าง ๆ เช่น ประเพณีการแต่งงาน การสืบทอดสายตระกูลข้างแม่ ส่วนวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป ได้แก่ ภาษาที่ ใช้ในการสื่อสาร ลักษณะการแต่งกาย การบริโภค และเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน สำหรับสิ่งที่ ทำให้ชาวลัวะบ้านป่ากำยังคงดำรงวิถีชีวิตแบบดั้งเดิม ได้แก่ สภาพพื้นที่ที่ห่างไกลชุมชน และลักษณะ การดำเนินชีวิตแบบพอเพียง ส่วนปรากฎการณ์ที่ทำให้ชาวลัวะบ้านป่ากำมีวิถีชีวิตเปลี่ยนแปลงไป คือ การปฏิสัมพันธ์กับสังคมภายนอกมากขึ้นและนโยบายของรัฐด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตในกลุ่มชาติพันธุ์

 

Abstract

The purpose of this research is to launch a social, economic, and political study on the subsistence and the lifestyle transition of Lua people of Pakam Village through the qualitative research technique. Research instruments include Nondirective Structured Interview, interview and participatory observation. The research results reveal that, with nature-dependent lifestyle, Pakam Lua people have ethnic identities so remarkable in Nan province due to its cultural transmission from generation to generation. In the present, these people maintain their traditional way of life; however, some aspects of it have begun to change. The maintained aspects include housing design, animistic belief, and some important traditions such as wedding ceremony, metonymically lineal and cultivating traditions. The changed ones encompass the use of Central Thai dialect as local communicative language, modern costume, diets, and everyday implements. The key factors maintaining their traditional lifestyle include the isolated location of their community and their selfsufficient way of life. Those factors causing changes in the lifestyle are their increasing contact with external world and the government policy of ethnic welfare improvement.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ