บ้านร้านค้า: อีกหนทางหนึ่งของการลดหนี้ที่อยู่อาศัยของคนจน

Main Article Content

ฤทธิรงค์ จุฑาพฤฒิกร

Abstract

บทคัดย่อ

จากการพูดคุยกับผู้ที่อาศัยในชุมชนบุกรุกจำนวนหนึ่งถึงโครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย สำหรับพวกเขา หลาย ๆ คนพูดคล้ายกันว่า การได้บ้านใหม่นั้นเป็นสิ่งที่ปราถนา หากแต่การมีหนี้สิน จำนวนมากตามมาก็เป็นที่น่ากังวลเช่นกัน หนี้ก้อนใหญ่จากการกู้เงินเพื่อมาลงทุนกับบ้านใหม่ เมื่อเทียบ กับรายได้อันไม่แน่นอนในแต่ละวัน จึงเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ผู้บุกรุกเหล่านี้ลังเลที่จะเข้า ร่วมโครงการที่อยู่อาศัยต่าง ๆ แม้ว่าพวกเขาจะรู้ดีว่าโครงการเหล่านี้จะให้กู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ และ ช่วยให้มีที่อยู่มั่นคงยิ่งขึ้นก็ตาม

วิธีการหนึ่งที่จะเพิ่มพูนรายได้ในชีวิตประจำวันของพวกเขา คือการเปลี่ยนที่พักอาศัยให้เป็นที่ ทำมาหากิน ซึ่งวิธีการนี้มีผลให้สมาชิกทุกคนในบ้าน (ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิง เด็ก หรือ คนแก่) สามารถมี ส่วนร่วมในการสนับสนุนเศรษฐกิจในครัวเรือน นอกจากนั้นแล้ว ค่าใช้จ่ายในการขนส่งหรือเดินทางและ ค่าเครื่องมือเครื่องไม้พิเศษในการประกอบอาชีพก็อาจจะเพียงเล็กน้อยเท่านั้น การประกอบกิจการที่บ้าน จึงเป็นหนทางลดค่าใช้จ่ายได้ในอีกทางหนึ่ง

ความหลากหลายของธุรกิจในครัวเรือนที่พบเห็นในชุมชนบุกรุกหลาย ๆ ชุมชน จึงเป็นเรื่องที่ บทความนี้อยากนำเสนอเพื่อให้เกิดการพิจารณา ให้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการออกแบบที่พักอาศัย สำหรับคนจนในเมือง เนื่องด้วยที่ผู้เขียนเล็งเห็นว่าอาจจะเป็นส่วนที่ช่วยลดหนี้ของพวกเขาได้ บางทีอาจ เป็นไปได้ที่ว่าการทำโครงการที่อยู่อาศัยให้ประสบความสำเร็จนั้น คือการเรียนรู้จากประสบการณ์จริงจาก ชีวิตจริงของพวกเขาเอง

 

Abstract

From interviews with a considerable number of urban squatters in government housing projects, many of them have reflected that the new permanent houses would meet their great desire. However, they are also concerned about the large amount of money which they have to borrow for investing in the brand-new dwellings. With limited income, the debt obligation causes the poor to hesitate to join in such housing programmes, even though these projects give rise to the security of tenure and provide them a low interest loans.

One strategy that squatters select is to increase their income in their routine life by converting some part of their house to start a small business for generating money. Among the limitation on accessing to the mainstream jobs, shop-houses allow every member (mothers, children and even the older people) to be a part of family financial support. Moreover, it can reduce some expenditures due to the cost of transportations and specific equipments are very little. Although this home-based enterprise leads to some negative effect for the family (loss of privacy, unintended pollution releases), it is always the poor’s alternative for increasing income.

This article intends to present that the diversity of home-based businesses, which are created by squatters themselves, should be considered in the housing design process. It might be a possible way to reduce the debt. This might be another way to reduce the housing debt. Perhaps the most appropriate way to succeed in a housing programme for the poor is learning from squatters’ real life experiences.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ