การบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

ดวงใจ ช่วยตระกูล

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบปัจจัยความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเพื่อทราบแนวทางในการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนคือ 1) การศึกษาวิเคราะห์เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยการบริหารความเสี่ยง ในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) การวิเคราะห์ปัจจัยความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน 3 )การวิเคราะห์แนวทางการบริหารความเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยสถานศึกษาระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐานจำนวน 283 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลคือผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครูที่รับผิดชอบ ในเรื่องการบริหารความเสี่ยงในสถานศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษา จำนวน 1,415 คน การพิจารณาวิธีการได้มาซึ่งการบริหารความเสี่ยงใช้รูปแบบการอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือ ที่ใช้ในการเก็บรวบรวบข้อมูลคือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างและแบบสอบถาม ความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่ามัชฌิม เลขคณิต (\bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เปอร์เซ็นไทล์ (percentiles) การทดสอบค่า t (t-test) การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว (one way ANOVA) ทดสอบรายคู่โดยใช้วิธีการของเชฟเฟ่ (scheffe’) การวิเคราะห์ ตัวประกอบ (exploratory factor analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis)

ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยความเสี่ยงในสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานประกอบด้วย 5 องค์ประกอบคือ ด้านการเรียนการสอน ด้านการเงิน ด้านความมั่นใจทางการศึกษา ด้านสิ่งแวดล้อมและ ด้านการบริหารจัดการความปลอดภัย โดยปัจจัยความเสี่ยงของสถานศึกษาในเมือง นอกเมืองและในแต่ละ ภูมิภาคมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) แนวทางการบริหารความเสี่ยงในสถาน ศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพบว่าปัจจัยความเสี่ยงด้านการเรียนการสอนควรใช้วิธีการบริหาร ความเสี่ยงโดยการควบคุมและหามาตรการในการป้องกันความเสี่ยงรวมไปถึงถ่ายโอนความเสี่ยง ปัจจัย ความเสี่ยงด้านการเงินควรใช้วิธีการบริหารความเสี่ยงโดยการควบคุมและหามาตรการในการป้องกัน ความเสี่ยง ปัจจัยความเสี่ยงด้านความมั่นใจทางการศึกษาควรใช้วิธีการควบคุมและหามาตรการในการ ป้องกันความเสี่ยงรวมถึงการมีส่วนร่วมของภาคีคือชุมชน ผู้ปกครองและผู้ประกอบการ ปัจจัยความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมควรใช้วิธีการบริหารความเสี่ยงโดยการควบคุมและหามาตรการในการป้องกันความเสี่ยง รวมไปถึงถ่ายโอนความเสี่ยง ปัจจัยความเสี่ยงด้านการบริหารจัดการความปลอดภัยควรใช้วิธีการควบคุม และหามาตรการในการป้องกันความเสี่ยงรวมไปถึงการมีส่วนร่วมของนักเรียน ผู้ปกครอง บุคลากร ในสถานศึกษา ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาและผู้ที่เกี่ยวข้อง Abstract The objectives of this research were to find 1) the risk factors in basic education schools and 2) guidelines for the risk management in basic education schools. The research comprised of 3 phases: 1) analytical study to set the conceptual framework in risk management in basic education schools; 2) risk factors analysis in basic education schools; and 3) risk management analysis in basic education schools. The samples were 283 basic education schools, where the respondents were school directors, assistance school directors, teachers responsible for risk management or internal control in school, and basic education committees with the total of 1,415. The risk management in basic education schools was acquired via experts’ references. The data collected by using document analysis, structured interviews, and questionnaires. The statistical data were analyzed by using frequency, percentage, mean ( \bar{X} ), standard deviation (S.D.), percentiles, t-test, one way ANOVA, factor analysis, and content analysis. The research findings revealed that :

1. The risk factors in basic education schools consisted of five components; learning and teaching process, finance, confidence in education, environment, and safety management. The difference in risk factors between rural and urban area cluster by region was found at 0.05 level.

2. The guidelines for the risk management in each component were suggested as follows:

2.1 The risk in learning and teaching process should be reduced by risk control (treat) and risk transfer.

2.2 The risk in finance should be reduced by risk reduction / risk control (treat).

2.3 The risk in confidence in education should be reduced by risk control (treat) and community participation, parent and entrepreneurs.

2.4 The risk in environmental component should be reduced by risk control (treat) and risk transfer.

2.5 The risk in safety management should be reduced by risk control (treat) and participation with students, parents, personnel and community committees in schools and stakeholders.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ