การสร้างเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อสนับสนุนการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แบบมีส่วนร่วม ในเขตพื้นที่ 10

Main Article Content

ทวีคูณ สวรรค์ตรานนท์
สมหมาย ชินนาค
สิริพัฒน์ ลาภจิตร

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ( PAR: Participatory Action Research) มีวัตถุประสงค์ดังนี้

1. เพื่อส่งเสริมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้กับประชาชนได้เข้าใจเกี่ยวกับการกระจายอำนาจที่ถูกต้อง

2. เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมจัดตั้งเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อติดตาม ตรวจสอบและส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตพื้นที่ 10

3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจัดตั้งเครือข่ายภาคประชาชน ในเขตพื้นที่ 10

4. เพื่อศึกษาเปรียบเทียบเครือข่ายภาคประชาชนที่มีอยู่เดิมในท้องถิ่นกับรูปแบบเครือข่าย ภาคประชาชนที่จัดตั้งใหม่

5. เพื่อศึกษาหารูปแบบเครือข่ายภาคประชาชนที่เหมาะสม

ดำเนินการศึกษาวิจัยการสร้างเครือข่ายภาคประชาชนในเขตพื้นที่ 10 จำนวน 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มอำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม และ 2) กลุ่มองค์การบริหารส่วนตำบลคูเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัย เชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research-PAR) ในลักษณะ ของการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมจำนวน 5 ครั้ง และลงพื้นที่เพื่อศึกษาสภาพและติดตาม งาน จำนวน 6 ครั้ง โดยในการดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการแต่ละครั้งได้มีการบรรยายให้ความรู้และประชาสัมพันธ์การกระจายอำนาจเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับกลุ่มเครือข่ายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจให้ แก่ประชาชน และระดมความคิดเห็นร่วมกันในการค้นหาปัญหาสาเหตุรวมทั้งแนวทางการส่งเสริมการมี ส่วนร่วมของภาคประชาชน

ผลจากการศึกษาวิจัยพบว่า

ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างหรือจัดตั้งเครือข่ายสามารถแบ่งได้ 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภายในและ ปัจจัยภายนอก 1) ปัจจัยภายในที่มีความสำคัญต่อการสร้างและพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่ายการ กระจายอำนาจภาคประชาชน ได้แก่ ลักษณะชุมชนที่เอื้อต่อการสร้างเครือข่าย สภาพสังคมวัฒนธรรม ของชุมชน จิตสำนึก แกนนำหรือผู้นำที่มีจิตวิญาณ อุดมการณ์ในการทำงาน ความรู้ ความซื่อสัตย์ องค์ความรู้ของเครือข่าย ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน การสร้างภูมิความรู้และการมีกิจกรรมที่ต่อเนื่อง และ 2) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ นโยบายรัฐบาล กฎหมาย รองรับสถานะเครือข่าย สภาพเศรษฐกิจ การส่งเสริมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านกองทุน

ดังนั้น จึงชี้ให้เห็นว่าปัจจัยระดับบุคคล ระดับชุมชน และระดับองค์การ เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลต่อการสร้างเครือข่ายและพัฒนาความเข้มแข็งของเครือข่ายภาคประชาชน เพื่อสร้างสังคมชุมชน ให้น่าอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ผลการเปรียบเทียบเครือข่ายที่มีอยู่เดิม (เครือข่ายนาหว้า) และเครือข่ายที่มีการจัดตั้งใหม่ (เครือข่ายคูเมือง) พบว่าการเกิดขึ้นของเครือข่ายทั้ง 2 แห่ง มีลักษณะไม่แตกต่างกัน แต่มีจุดเริ่มต้น ที่แตกต่างกัน กล่าวคือเครือข่ายภาคประชาชนนาหว้า อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม เป็นเครือข่ายที่มี อยู่เดิมมีการรวมตัวกันแบบหลวม ๆ ลักษณะการสร้างเครือข่ายเกิดจากล่างขึ้นสู่บน (Vertical Integration) เป็นการรวมตัวกันจากประชาชนโดยกลุ่มแกนนำชุมชน ซึ่งมีความหลากหลายอาชีพแล้วขยายไปสู่ระดับ ตำบล ระดับอำเภอ และระหว่างเครือข่ายกับเครือข่ายเป็นเครือข่ายเชิงพื้นที่ (Area Network) เป็นสังคม กลุ่มใหญ่ สมาชิกมีความสัมพันธ์กันแบบหลวมๆ มีรูปแบบการประสานงานแบบเป็นทางการ เดิมวัตถุประสงค์ในการรวมตัวกันเพื่อตรวจสอบการทำงานของ อปท. เมื่อคณะผู้ศึกษาวิจัยเข้าไปช่วย ปรับวิสัยทัศน์และสร้างความเข้าใจแก่กลุ่มแกนนำจึงได้มีการปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน อปท. และคนในหมู่บ้านรู้จักหน้าที่และเข้าไปมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน มีจิตสำนึกเสียสละเพื่อพัฒนาตนเองและแผ่นดินเกิด ส่วนเครือข่ายภาคประชาชนคูเมือง อำเภอ วารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นเครือข่ายแบบสมานฉันท์ ชุมชนมีความร่วมมือและเสียสละ มีลักษณะการสร้างเครือข่ายในแนวราบ (Horizontal Integration) เป็นเครือข่ายที่ถูกจัดตั้งใหม่ด้วยความ เห็นชอบของชุมชน ภายใต้การสนับสนุนของผู้บริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลคูเมือง ทั้งฝ่ายการ เมืองและข้าราชการประจำ เป็นเครือข่ายเชิงประเด็นกิจกรรม (Issue Network) แม้จะเป็นสังคมกลุ่มเล็ก แต่สมาชิกในกลุ่มเครือข่ายก็มีความสัมพันธ์อย่างเหนียวแน่น และมีรูปแบบการประสานงานส่วนใหญ่ เป็นแบบไม่เป็นทางการ วัตถุประสงค์หลักของกลุ่มจัดขึ้นเพื่อให้ชาวบ้านเข้ามาร่วมช่วยพัฒนาชุมชนแผ่นดินเกิดของตัวเอง มีความสามัคคีและร่วมมือกันพัฒนาชุมชนท้องถิ่นให้เจริญและเข้มแข็ง ตลอดจน เพื่อให้ชุมชนได้เข้ามาร่วมติดตามตรวจสอบการทำงานของ อปท. เพื่อให้เห็นถึงความโปร่งใสในการทำงาน

จากผลการศึกษา พอที่จะสรุปได้ว่ารูปแบบเครือข่ายที่เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพ พื้นถิ่นอีสาน น่าจะเป็นลักษณะของเครือข่ายแบบสมานฉันท์มากกว่า เพราะวัฒนธรรมอีสานจะให้ความ สำคัญกับผู้อาวุโส การดำเนินงานของ อปท. จึงต้องใช้พื้นฐานสังคมวัฒนธรรมอีสานเข้าร่วมในการ ดำเนินงาน กล่าวคือ องค์กรภาครัฐต้องเข้ามาช่วยเหลือเป็นพี่เลี้ยง (mentor) ไม่ใช่การสั่งการ อันเป็นการ ทำงานในแบบกัลยาณมิตร เปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็น เรียนรู้และพัฒนาร่วมกัน โดยอาศัยความร่วมมือ จากกลุ่มชนต่าง ๆ อาทิ กลุ่มนักเรียนนักศึกษาทั้งในและนอกระบบ ภาควิชาการ องค์กรเอกชน องค์กร ท้องถิ่น สร้างพันธมิตรความร่วมมือกัน สนับสนุนและดำเนินการ จากเครือข่ายกลุ่มเล็กก่อน และใช้ ปฏิทินชุมชนเป็นตัวเชื่อมโยงการสร้างเครือข่ายชุมชนบนวิถีปฏิทินชุมชน ให้ประชาชนเกิดความรู้สึก ไว้วางใจเชื่อมั่น เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมและมีบทบาทตั้งแต่ร่วมคิด ช่วยกันสร้างความ เข้มแข็งและพัฒนาเครือข่ายภาคประชาชน และเกิดประชาธิปไตยในท้องถิ่นต่อไป

 

Abstract

This Participatory Action Research (PAR) had the following objectives:

1. To encourage the concept of, and disseminate accurate information concerning, decentralization of Local Administrative Organization (LAO) to people.

2. To encourage people to participate in establishing People’s Network for monitoring and supporting the LAO in the 10th zone.

3. To study the factors affecting the establishment of People’s Network in the 10th zone.

4. To compare the existing People’s Network with the newly proposed one.

5. To find an appropriate model for the People’s Network.

The research project examined two groups which involved in building the People’s Network in the 10th zone. The first was in Na Wa district, Nakhon Phanom province, and the second in Ku Muang sub-district administrative organization, Ubon Ratchathani province. The research methodology employed Participatory Action Research (PAR), and included five workshops and six field studies.

Following are the results of the study:

The factors affecting the building or establishing of the network might be divided into 2 groups: internal factors and external factors. Internal factors were significant to the building and strengthening of decentralizing People’s Network which includeed community characteristics; the cultural and social aspects of the community; community consciousness; leadership demonstrating capacity and ideology to work, as well as knowledge and honesty; an efficient information system; good relationships among people; knowledge building and having regular activities. External factors included government policies; the support of the network by laws; economic conditions and funding support from outside organizations.

The research indicated that factors at the personal, community, and organization levels were important for building the networks and developing the strength of the People’s Network in its mission to create good quality of life in society.

Comparing the existing network (in Na Wa) with the new one (in Ku Muang), the research showed that although the origin of the two networks was not different, they had different starting points. The Na Wa network was a pre-existing network, in which members cooperated with the network loosely. Building the network was done from the bottom-up fashion (Vertical Integration), in which community leaders from various backgrounds gathered and extended the network to the sub-district and district levels. This became an area-wide network, a large group whose members maintained loose relations albeit with formal forms of coordination. At its inception, the objective of the network was to inspect the LAO, but after a period of time the research teams turned their objective into supporting the LAO activities instead. People in the communities were clear about their duties and participation, and were committed to supporting the LAO both for themselves and for the good of the country.

The People’s Network at the Ku Muang sub-district administrative organization in Ubon Ratchathani province was a more uniform network; the communities cooperated and sacrificed their time and energy to build a network horizontally (Horizontal Integration). This new network was established by the agreement of the community with supports from LAO administrators; it was both a political and official group. This in turn became an activity network (or Issue Network), a small group in which members maintained an informal but tight relationship. The main objectives of the network were to provide a chance for the people to participate in community development, to build solidarity, to cooperate in developing local strengths, and to be involved in monitoring LAO work in its capacity as a governance organization.

Based on the research findings, we can conclude that the network most suitable for conditions in Isaan is the uniform-type network. The LAO must be responsive to its socio-cultural context if it is to operate successfully. In Isaan culture, a high degree of respect and deference is paid to elders. Thus, LAO official staff should act as mentors rather than rulers, should be able to work in alliances, should be open to comments and criticism, and should be willing to learn from and develop in tandem with various groups such as students, academics, NGOs and local organizations. It should start from a small group and use a community calendar to make a network. This process will build confidence and inspire participation; it will also facilitate social action since it shares ideas and inputs, strengthens and develops the People’s Network and in turn leads to local democracy.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ