การนำเสนอรูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนที่เป็นนิติบุคคล

Main Article Content

ทวีศักดิ์ อำลา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจรูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนที่เป็น นิติบุคคลในปัจจุบัน 2) สร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนที่เป็นนิติบุคคลที่ควรจะเป็น 3) ตรวจสอบ รูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนที่เป็นนิติบุคคลที่เหมาะสม วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษารูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนนิติบุคคลในปัจจุบัน โดยศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นรูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนในปัจจุบัน 2) สร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียน เอกชนนิติบุคคลที่ควรจะเป็น โดยนำรูปแบบทั้งหมดไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิให้ความเห็น 3) ตรวจสอบรูปแบบการ บริหารโรงเรียนเอกชนนิติบุคคลที่เหมาะสม โดยได้ศึกษาเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์ ผู้บริหารโรงเรียน 17 คน ผู้ช่วยผู้บริหารโรงเรียน 69 คน คณะกรรมการสถานศึกษา 18 คน ครูใน โรงเรียนเอกชนทุกประเภท 20 คน รวม 124 คน นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาเอกสาร สัมภาษณ์ สรุปเป็น รูปแบบการบริหารโรงเรียนเอกชนนิติบุคคลในปัจจุบัน รวมกับรูปแบบการบริหารโรงเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น รูปแบบที่ผู้วิจัยสรุปจากโรงเรียนนิติบุคคลภาครัฐ นำรูปแบบทั้งหมดไปสอบถามผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับ การศึกษาเอกชน จำนวน 29 คน เพื่อให้ความเห็นเกี่ยวกับรูปแบบที่ควรจะเป็น วิเคราะห์ข้อมูลด้วย Nonparametric เปรียบเทียบความคิดเห็นของแต่ละกลุ่มผู้เชี่ยวชาญและรูปแบบการบริหารทั้ง 9 รูปแบบ ด้วย Willcoxon Mann – Whitney U Test ต่อจากนั้นนำรูปแบบที่ควรจะเป็นไปตรวจสอบถึงความเหมาะสม ที่จะใช้ในโรงเรียนอีกครั้งหนึ่งด้วยวิธีอ้างอิงผู้ทรงคุณวุฒิ (Connoisseurship) จำนวน 9 ท่าน ผลการวิจัย พบว่า

1) รูปแบบของการบริหารโรงเรียนเอกชนที่เป็นนิติบุคคลในปัจจุบัน มี 7 รูปแบบ

2) รูปแบบของการบริหารโรงเรียนเอกชนที่ควรจะเป็น คือ รูปแบบที่ 8 ซึ่งมีคณะกรรมการบริหาร โรงเรียนเป็นหลัก มีผู้อำนวยการและผู้จัดการรับผิดชอบงานแยกจากกัน

3) รูปแบบที่เหมาะสมกับการบริหารโรงเรียนเอกชนที่เป็นนิติบุคคล คือรูปแบบที่ 8 ซึ่งมี ความเหมาะสม ถูกต้อง เป็นไปได้ และสามารถนำไปปรับใช้กับโรงเรียนเอกชนนิติบุคคล

 

Abstract

The purposes of this research were to explore existing administration models for the private school as juristic person, to develop an ideal administration model for the private school as juristic person, and to evaluate the appropriate model to be used for the private school as juristic person. The research procedures consisted of three important steps as follows: 1) assess the existing administration models for private school as juristic person, 2) develop the ideal administration model for private school as juristic person, and 3) evaluate the appropriate the model. The researcher conducted the documentary research and interviewed 124 samples, including 17 school administrators, 69 school assistant administrators, 18 members of school boards, and 20 teachers. From the analysis and synthesis of the data, the existing administration for private school as juristic person was classified into 7 models. Totally, there were 9 models which included an additional model developed by the researcher and a model assessed by the private school as juristic person. After conducting the analysis by applying nonparametric statistical method and the assessment of 29 experts’ comments in private school administration on the existing 9 administration models established from the study, it revealed that the 8th model was the most appropriate model for the private school as juristic person. Additionally, the 8th model was analyzed and verified by another group of 9 experts applying connoisseurship for its application. The research instruments were document analysis form, interviews and questionnaire. Willcoxon Mann-Withney U Test was used to analyze median, analysis of opinion and comment between the expert groups and the 9 administration models.

The research findings revealed that:

1) There were seven existing administration models currently implemented by private school as Juristic person.

2) There was one ideal administration model which was found appropriate for private school as Juristic person.

3) The 8th administration model was found most appropriate and applicable for private school as Juristic person.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ