ปัจจัยเอื้อและแนวปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ เอกชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบปัจจัยเอื้อและแนวปฏิบัติที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการ ตามแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเอกชนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรและกลุ่ม ตัวอย่าง มีดังนี้ ประชากรในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ท่าน จำแนกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร และกลุ่มนักวิชาการ กลุ่มตัวอย่างโรงเรียนเอกชนแบ่งเป็น 3 ประเภท ๆ ละ 2 โรง รวม 6 โรง ได้แก่ โรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ โรงเรียนเอกชนทั่วไป และโรงเรียนเอก ชนขนาดเล็กที่มีจำนวนนักเรียนต่ำกว่า 100 คน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารและครูในโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผลการวิจัยพบว่า
ปัจจัยเอื้อสำหรับการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเอกชนในการ จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีดังนี้ นโยบายการจัดการศึกษา ความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ความเสมอภาคในการ ส่งเสริมสนับสนุน การประสานงาน ความยืดหยุ่นในการใช้กฎ ระเบียบต่าง ๆ สำหรับแนวปฏิบัติที่เหมาะสมโดยรวม คือ ควรมีนโยบายการรับนักเรียนของภาครัฐที่ชัดเจนและ ประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ กระทรวงศึกษาธิการควรประสาน และขอความร่วมมือจากหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเรื่องการลดหย่อนหรือยกเว้นภาษี ควรมีการพิจารณาอัตราค่าใช้จ่ายรายหัวที่เป็นธรรม การพัฒนาบุคลากรควรคำนึงถึงครูโรงเรียนเอกชนด้วย และกฎหมาย กฎ ระเบียบต่างๆ ควรมีความ ยืดหยุ่นให้เอื้อในการดำเนินกิจการโรงเรียนเอกชน
Abstract
The purpose of this research was to investigate the support factors and guideline appropriate for implementing strategies encouraging private school involvement in basic education. The population for the interview were nine experts, selected by purposive sampling, then the experts were devided into two groups : administrator and academician. Sampling of this research were six private schools which were categorized into three groups : two successful schools; two adequate schools; and two small sized schools with less than 100 students. The respondents were school administrators and teaching staff. The instruments used were quasi-structured interview and indepth interview.
The results revealed that support factors for implementing strategies encouraging private school involvement in basic education were education management policy ; collaboration from the related sectors ; encouragement equity; coordination; and flexibility from laws, rules, and regulations. Appropriate guideline in general were clear policy on student admission of public schools and informing any concerns that might affect the school. The Ministry of Education should coordinate and ask for collaboration from the related sectors concerning tax deduction or tax exemption. Payment rate of educational sectors should be fairly considered. Human Resource Development should also include teachers of private schools. Laws, rules, and regulations should be flexible enough to facilitate private school’s operation.