ตัวบ่งชี้การบริหารถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิด ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการพัฒนาทักษะการคิด และผู้บริหารสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ผ่านการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) รอบที่ 1 อยู่ในระดับดี จำนวน 222 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสังเกตข้อมูลเชิงประจักษ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson product moment correlation coefficient) และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis : CFA) โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า ตัวบ่งชี้การบริหารสถานศึกษาที่ส่งเสริมทักษะการคิดของนักเรียน ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 4 ด้าน องค์ประกอบย่อย 28 องค์ประกอบ และมี 151 ตัวบ่งชี้ คือ 1) ด้านการ บริหารวิชาการ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 11 องค์ประกอบ มี 84 ตัวบ่งชี้ ซึ่งมีการเรียงลำดับ องค์ประกอบย่อยจากมากไปน้อย ดังนี้ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนา แหล่งเรียนรู้ การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การนิเทศการศึกษา การส่งเสริมความรู้ ด้านวิชาการแก่ครอบครัวและชุมชน การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยี การแนะแนว การวัด ประเมินผลและการเทียบโอน การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการประสานความร่วมมือในการ พัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น 2) การบริหารงบประมาณ ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 6 องค์ประกอบ มี 17 ตัวบ่งชี้ ซึ่งมีการเรียงลำดับองค์ประกอบย่อยจากมากไปน้อย ดังนี้ การจัดสรรงบประมาณเพื่อ ส่งเสริมทักษะการคิด การจัดตั้งและเสนองบประมาณเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด การบริหารการเงินเพื่อ ส่งเสริมทักษะการคิด การบริหารพัสดุและทรัพย์สินเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด การตรวจสอบติดตาม ประเมินผลรายงานผลการใช้เงินและผลการดำเนินงาน และ การระดมทรัพยากรและ ลงทุนเพื่อส่งเสริม ทักษะการคิด 3) ด้านการบริหารงานบุคคล ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 3 องค์ประกอบ มี 16 ตัวบ่งชี้ ซึ่งมีการเรียงลำดับองค์ประกอบย่อยจากมากไปน้อย ดังนี้ การวางแผนอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งเพื่อ ส่งเสริมทักษะการคิด การเสริมสร้างในการปฏิบัติราชการเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด และการสรรหาและ การบรรจุแต่งตั้งเพื่อส่งเสริมทักษะการคิด และ 4) ด้านการบริหารทั่วไป ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 8 องค์ประกอบ มี 34 ตัวบ่งชี้ ซึ่งมีการเรียงลำดับองค์ประกอบย่อยจากมากไปน้อย ดังนี้ การจัดระบบการ บริหารและพัฒนาองค์กรที่ส่งเสริมทักษะการคิด การวางแผนการบริหารการศึกษา การส่งเสริมงานกิจการ นักเรียน องค์ประกอบย่อยการพัฒนาระบบและเครือข่ายระบบข้อมูลสารสนเทศ การประชาสัมพันธ์การ ศึกษา การดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา และการประสานงานและ พัฒนาเครือข่ายการศึกษา
Abstract
The purpose of this research was to develop indicators of school management for promoting students thinking skills. The samples consist of experts in thinking skills development, and 222 school administrators from the schools which passed at the first of the external quality standard assessment with the level of satisfaction in every areas by the office for National Education Standards and Quality Assessment. The instruments for collecting the data were structure interview, questionnaire, and checklist observation. The statistics used were Pearson product moment correlation coefficient and Confirmatory Factor Analysis (CFA).
The result of this research was as follows: The school Management Indicators for promoting students thinking skills were embraced the four main areas with 28 subfactors and 151 indicators; 1) Academic administration factors was composed of 11 sub-factors and 84 indicators which can be ranked in order from the highest to the lowest sub-factors as follows : learning process development, curriculum development, learning resources development, school based standards and internal quality assessment system development, school supervision, academic promoting through family and community, innovation and technology development, school counseling, assessment and evaluation and credit transfer, educational research and development, and academic collaboration with other institutions. 2) Financial administration factors was composed of 6 sub-factors and 17 indicators which can be ranked in order from the highest to the lowest sub-factors as follows : budget arrangement for promoting thinking skills, budget purposes for promoting thinking skills, financial administration for promoting thinking skills, materials management and education supplies for promoting thinking skills, performance audit report of finances, and investment education and resources for developing thinking skills. 3) Personnel administration factors was composed of 3 sub-factors and 16 indicators which can be ranked in order from the highest to the lowest sub-factors as follows : staff planning and enter position description for promoting thinking skills, performance enhancement for promoting thinking skills, staff recruiting, and staff selecting for promoting thinking skills, and 4) General administration factors was composed of 8 sub-factors and 34 indicators which can be ranked in order from the highest to the lowest sub-factors as follows : administrative management system and organization development for promoting thinking skills, student affairs promotion, development system and information technology network, public relations education,building maintenance and environment, educational technology and educational cooperation network.