รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุขององค์ประกอบที่มีผลต่อภาวะผู้นำของคณบดี ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ

Main Article Content

วรรณี อึ้งสิทธิพูนพร

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของ องค์ประกอบที่มีผลต่อภาวะผู้นำของคณบดีของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และเพื่อศึกษาทิศทางและ ขนาดอิทธิพลขององค์ประกอบที่มีผลต่อภาวะผู้นำของคณบดีของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ประชากร คือคณบดี รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานอยู่ในมหาวิทยาลัยในกำกับของ รัฐ จำนวน 3,285 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 589 คน และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามความคิดเห็นที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นตามกรอบแนวคิดเกี่ยวกับภาวะ ผู้นำของผู้บริหาร โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 20-30 มกราคม 2552 สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยสูตรของเพียร์สัน และการ วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ผลการ ศึกษาพบว่า รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุขององค์ประกอบที่มีผลต่อภาวะผู้นำของคณบดี ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่พัฒนาขึ้นตามสมมติฐานสอดคล้องกับความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งมี 3 องค์ประกอบได้แก่ สถานการณ์ที่เกี่ยวข้องในคณะ/สำนักวิชา คุณลักษณะของคณบดี และ พฤติกรรมการบริหารของคณบดี องค์ประกอบที่มีผลต่อภาวะผู้นำของคณบดีของมหาวิทยาลัยในกำกับ ของรัฐ มีทิศทางและขนาดของอิทธิพลแตกต่างกัน โดยองค์ประกอบด้านสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องในคณะ/ สำนักวิชา มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.35 และ 0.29 ตามลำดับ องค์ประกอบด้านคุณลักษณะของคณบดี มีอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.08 และ 0.13 ตามลำดับ และองค์ประกอบด้านพฤติกรรมการบริหารของคณบดี มีอิทธิพลทางตรงเพียง อย่างเดียวต่อภาวะผู้นำของคณบดีโดยมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.39

 

Abstract

The objectives of this research were to develop a causal structural relationship model of factors affecting leadership of deans in public autonomous universities and to study the direction and size of effects of affecting factors leadership of deans in public autonomous universities. The population was 3,285 persons comprised of dean, deputy dean, assistant dean, professors and staffs in public autonomous universities. The sample was 589 persons by stratified random sampling. The instrument was an opinionnaire that researcher developed by using administrator leadership framework. All data were collected during January 20-30, 2009. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, Pearson’s product moment correlation coefficient and Confirmatory Factor Analysis. (CFA)

It was found that : A causal structural relationship model of factors affecting leadership of deans in public autonomous universities were consisted of 3 factors as situation involved in faculty, dean’s characteristics and dean’s behaviors. The model fitted quite well with the sample’s opinion. Factors affecting leadership of deans in public autonomous universities had difference effects direction and effects size. Situation involved in faculty having directly and indirectly effects on deans’ leadership in public autonomous universities as 0.35 and 0.29 respectively. Dean’s characteristics having directly and indirectly effects on deans’ leadership in public autonomous universities as 0.08 and 0.13 respectively and deans’ behaviors having only directly effects on deans’ leadership as 0.39.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ