Attitudes and Behaviour of People in the Province of Phayao towards the Thai National Reconciliation Plan: The Policy Implementation Outcome
Main Article Content
Abstract
Thailand has been under the situation of political assemblage since 2005. At that time, the rebelling groups determined their criteria to fight against others and to negotiate with the government so that the House dissolution would be considered. Political violence occurred continuously among a well-organized network. Each congregation has had both direct and indirect impacts on the economy, politics and society at large, from Bangkok to its surrounding districts and spread out across the country. There were a number of injuries and deaths. At that time, the Abhisit Vejjajiva and Yingluck Shinawatra governments had been trying to solve the conflicts between different groups by launching a national reconciliation plan.
This article explores attitudes and behaviour of people in Phayao province towards the previous Thai national reconciliation plan in 2010 as well as studies the success of the policy implementation. The objective is also to stimulate people participation to achieve the peaceful situation under a democratic system with the King as the Head of State. Data were collected through 410 samples in and out the province of Phayao by means of questionnaires as well as structured in-depth interviews among civil services and political officers. Incidentally, it is found that people who lived in the city area did not have different attitudes about the plan from those who lived in the surrounding districts, (significantly at the level of 0.05). The attitude about the national reconciliation plan as a whole is at a high level ( ̅x= 4.46). In consequence, the study shows some unimportant relationship between information-tracking and knowledge about the plan from the sample group, (significantly at the level of 0.05). Therefore, we accept the null hypothesis that there is no relationship between knowledge and participation behavior of the sample groups. The result of the interviews shows some opinions towards the reconciliation plan as a government policy. Some informants showed a weariness of public protests. Notwithstanding, for people’s participation in data collection, the respondents have had quite a good cooperation. Although some payed a low attention to the plan, they did pose some relevantly good ambitions to resolve the conflicts which are a good sign for policy implementation outcome.
การชุมนุมทางการเมืองเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ลักษณะของการรวมกลุ่มของบุคคลคนต่างๆเป็นแบบเครือข่ายอย่างทั่วถึงทุกภูมิภาคในประเทศไทย เพื่อกดดันรัฐบาลให้พิจารณายุติบทบาทการบริหารราชการแผ่นดินด้วยการลาออกหรือยุบสภา หากฝ่ายรัฐบาลแต่ละสมัยก็มิได้ปฏิบัติตาม ข้อเรียกร้องเช่นว่านั้น ส่งผลถึงความขัดแย้งทางการเมืองที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น การชุมนุมแต่ละช่วงเวลาก่อให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของภาครัฐและภาคเอกชน เกิดผลกระทบโดยตรงและโดยอ้อมต่อเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมเป็นวงกว้าง ตั้งแต่กรุงเทพมหานคร เชื่อมโยงออกไปยังหัวเมืองรอบนอกและขยายผลกระทบออกไปทั่วประเทศไม่เว้นแม้จังหวัดพะเยา ในเวลาต่อมารัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้พยายามแก้ไขปัญหาเชิงนโยบายโดยดำเนินแผนการปรองดองแห่งชาติเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและพฤติกรรมของประชาชนในจังหวัดพะเยาต่อแผนการปรองดองแห่งชาติ เพื่อศึกษาผลสำเร็จของการนำนโยบายภาครัฐไปปฏิบัติในประเด็นการสร้าง ความปรองดอง และเพื่อกระตุ้นแนวคิดภราดรภาพของการอยู่ร่วมกันภายใต้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 410 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสอบถามปลายเปิดและปลายปิด และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างจากข้าราชการการเมืองและข้าราชการประจำในจังหวัดพะเยา
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติเห็นด้วยกับการดำเนินนโยบายแผนการปรองดองแห่งชาติในภาพรวมอยู่ที่ระดับมากที่สุด ( ̅x= 4.46) โดยประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมืองมีทัศนคติเห็นด้วยมากที่สุดเกี่ยวกับแผนการปรองดองแห่งชาติเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยซึ่งไม่แตกต่างจากประชากรที่อาศัยอยู่นอกเขตอำเภอเมืองอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการติดตามข้อมูลข่าวสารไม่สัมพันธ์กับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแผนการปรองดองแห่งชาติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน ผลจากการสัมภาษณ์มองการสร้างความปรองดองเป็นเพียงนโยบายภาครัฐและประชาชนเบื่อหน่ายการประท้วงจากผู้ที่คิดต่างจากรัฐบาล อย่างไรก็ตามประชาชนกลุ่มตัวอย่างให้ความร่วมมือในการเก็บข้อมูลเป็นอย่างดีแม้คำตอบที่ได้รับบางส่วนจะชี้ว่าประชาชนไม่ค่อยให้ความสนใจในเรื่องแผนการปรองดองแห่งชาติของรัฐเท่าใด แต่ก็ได้ก่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ในด้านความสำเร็จของการนำนโยบายปรองดองแห่งชาติสู่การปฏิบัติถือว่าประสบผลสำเร็จ และสามารถกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในระดับหนึ่ง