การใช้หลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ทราบการใช้หลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 2) พัฒนาและนำเสนอการใช้หลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 5 ขั้นตอนคือ 1) การศึกษาวิเคราะห์เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาเป็นขอบข่ายของหลักธรรมาภิบาล 2) การร่างการใช้หลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนด้านโครงสร้างและกระบวนการบริหาร จากขอบข่ายแนวคิดและวิเคราะห์ผลความสอดคล้องโดยผู้เชี่ยวชาญ 3) การสร้างแบบสอบถามการใช้ หลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 4) เก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis) 5)สัมมนาอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน ในภาคกลาง จำนวน 14 มหาวิทยาลัย ผู้ให้ข้อมูลในแต่ละมหาวิทยาลัย ได้แก่ ผู้บริหารคณะวิชา 20 คน และอาจารย์ประจำคณะวิชา 20 คน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 475 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งเป็นคำถามแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 66 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ใช้การแจกแจงความถี่และค่าร้อยละ การวิเคราะห์ ระดับการใช้หลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor analysis) และสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (connoisseurship)
ผลการวิจัยพบว่า
1. การใช้หลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ คือ 1) หลักความรับผิดชอบ 2) หลักนิติธรรมและความเสมอภาค 3) หลักความโปร่งใส 4) หลักความคุ้มค่า 5) หลักความมั่นคง 6) หลักความมีส่วนร่วม 7) หลักคุณธรรม และ 8) หลักการใช้อำนาจหน้าที่
2. การใช้หลักธรรมาภิบาลในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนโดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (connoisseurship) ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ มีความเหมาะสม เป็นไปได้และสามารถนำไปใช้ ประโยชน์ได้สอดคล้องกับขอบข่ายการวิจัย
Abstract
The purposes of this research were to find the practice of good governance in private higher education institutes and to determine the components of good governance in private higher education institutes. The research procedures consisted of 5 steps: 1) analyze the research conceptual frameworks on the basis of principles, concepts, and theories of good governance 2) construct the practice of good governance from the conceptual frameworks 3) design the questionnaire 4) construct good governance components by applying factor analysis and 5) propose components of good governance. The samples included 20 middle-level administrators and 20 instructors from 14 universities. The total samples were 475 respondents. The research instruments were document analysis, the unstructured interview, and the questionnaires. The questionnaire is divided into 2 parts: individual’s background information and 66 question items on good governance measured in 5 level of Likert scale. Frequency, percentage, mean ( ), standard deviation (S.D.) factor analysis and content analysis were used for the data analysis. The verification of the practice of good governance in private higher education institutes was conducted through the connoisseurship.
The research findings revealed that:
1. The practice of good governance in private higher education institutes included 8 components which were the 1) Accountability 2) Rule of law and equality 3) Transparency 4) Value for money 5) Security 6) Participation 7) Ethics and 8) Authority performance
2. The practice of good governance in private higher education institutes which consisted of 8 main components was found appropriate, accurate, and possible to be implemented in accordance with the research conceptual frameworks.