รูปแบบการบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล

Main Article Content

อนันต์ เตียวต๋อย

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบองค์ประกอบการบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล และ 2) เพื่อนำเสนอรูปแบบการบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จ ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มีการดำเนินงานวิจัยใน 4 ขั้นตอน คือ 1) การทบทวน วรรณกรรม 2) การสัมภาษณ์ 3) การสร้างเครื่องมือ และ 4) การตรวจสอบรูปแบบการบริหารคุณภาพ แบบเบ็ดเสร็จในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี รองคณบดี ผู้อำนวยการวิทยาลัย และรองผู้อำนวยการ วิทยาลัย จำนวน 205 คน ระยะเวลาการเก็บข้อมูล เดือนตุลาคม 2551 - มีนาคม 2552 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใ ช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. องค์ประกอบการบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล มี 7 องค์ประกอบ คือ 1) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและพนักงาน 2) ผู้บริหาร มีภาวะผู้นำในการนำองค์กร 3) เทคนิคและเครื่องมือการบริหารคุณภาพ 4) ธรรมาภิบาลของผู้บริหาร 5) การใช้องค์กรเป็นคู่เทียบเคียง 6) การสร้างคุณภาพชีวิตบุคลากร และ 7) การบริหารงานอย่างต่อเนื่อง

2. รูปแบบการบริหารคุณภาพแบบเบ็ดเสร็จในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้แก่ องค์ประกอบและกระบวนการ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ 1) การให้ความสำคัญกับผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสียและพนักงาน 2) ผู้บริหารมีภาวะผู้นำในการนำองค์กร 3) เทคนิคและเครื่องมือการบริหารคุณภาพ 4) ธรรมาภิบาลของผู้บริหาร 5) การใช้องค์กรเป็นคู่เทียบเคียง 6) การสร้างคุณภาพชีวิตบุคลากร และ 7) การบริหารงานอย่างต่อเนื่อง และมี 8 กระบวนการ คือ 1) การริเริ่มจากผู้บริหารระดับสูง 2) การจัด โครงสร้างองค์กรและทีมงาน 3) การจัดระบบเครื่องมือคุณภาพ 4) การประกาศใช้และให้ความรู้แก่บุคลากร 5) การกำกับติดตามและประเมินผล 6) การทบทวนการดำเนินงาน 7) การให้รางวัลผู้ประสบผลสำเร็จ ในการบริหารคุณภาพ และ 8) การเทียบเคียงกับหน่วยงานที่ประสบผลสำเร็จ ซึ่งรูปแบบดังกล่าว ได้รับการ ยืนยันจากผู้เชี่ยวชาญให้สามารถนำไปใช้ได้

 

Abstract

The purposes of this research were to determine the TQM factors in Rajamangala University of Technology, and to propose the TQM model in the university. The research method, carried out during October 2008-2009, included 1) reviewing relevant literature, 2) interviewing samples, 3) developing research instruments, and 4) examining the TQM model in Rajamangala University of Technology. There were 205 samples consisted of presidents, vice-presidents, deputy presidents, deans, deputy deans, college directors and deputy college directors. The research instruments were interviews and questionnaire, which later were statistically analyzed to find frequency, percentage, mean, standard deviation, factor analysis and content analysis.

The results revealed that:

1. There were seven factors of the TQM in Rajamangala University of Technology, including: 1) awareness of the importance of customers, stakeholders, and staff, 2) the leadership of administrators, 3) techniques and tools for quality management, 4) administrators’ good governance, 5) benchmarking organization, 6) staff’s quality of life, and 7) continuous management.

2. The TQM model in Rajamangala University of Technology consisted of seven components: 1) awareness of the importance of customers, stakeholders, and staff, 2) the leadership of administrators, 3) techniques and tools for quality management, 4) administrators’ good governance, 5) benchmarking organization, 6) staff’s quality of life, and 7) continuous management. In addition, the TQM model was composed of eight main processes: 1) top-down initiation, 2) organizational structure and staff, 3) quality tools system, 4) proclamation and education for staff, 5) monitoring and evaluation, 6) performance review, 7) achievement award in quality management and 8) benchmarking with successful departments, which was verified by the experts to implement the model.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ