การตรวจหาลายนิ้วมือแฝงบนกระดาษหลายชนิดด้วย 1,2-indanedione

Main Article Content

เพ็ญทิพย์ สุตธรรม

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาการตรวจหาลายนิ้วมือแฝงบนกระดาษและคุณภาพ ของลายนิ้วมือแฝง ด้วยวิธี 1,2-indanedione ร่วมกับเครื่องกำเนิดแสงหลายความถี่ เปรียบเทียบกับวิธี ninhydrin ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันทั่วไป โดยเตรียมตัวอย่างลายนิ้วมือแฝงบนกระดาษ 15 ชนิด และทำการนับ จำนวนจุด minutiae ด้วยระบบ Automated Fingerprint Identification System (AFIS) และนำจุด minutiae ที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ

จากการศึกษาการตรวจหาลายนิ้วมือแฝงพบว่า วิธีการ 1,2-indanedione ร่วมกับเครื่องกำเนิด แสงหลายความถี่ สามารถใช้ตรวจหาลายนิ้วมือแฝงบนกระดาษได้มากถึง 10 ชนิด ส่วน วิธี ninhydrin สามารถตรวจหาลายนิ้วมือแฝงได้เพียง 6 ชนิด และเมื่อทำการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพของลายนิ้วมือ แฝง ผู้วิจัยได้แบ่งระดับคุณภาพของลายนิ้วมือแฝงออกเป็น 5 ระดับตามจำนวนจุด minutiae คือ ระดับ A มีคุณภาพสูงมาก ระดับ B มีคุณภาพสูง ระดับ C มีคุณภาพปานกลาง ระดับ D มีคุณภาพต่ำ และ ระดับ E มีคุณภาพต่ำมาก ผลการทดลองพบว่าวิธี 1,2-indanedione ให้คุณภาพที่ระดับ A ในกระดาษ 7 ชนิด ระดับ B ในกระดาษ 1 ชนิด ที่ระดับ C ในกระดาษ 1 ชนิด ที่ระดับ D ในกระดาษ 1 ชนิด และที่ระดับ E ในกระดาษ 5 ชนิด ส่วนวิธี ninhydrinให้คุณภาพที่ระดับ B ในกระดาษ 4 ชนิด ที่ระดับ C ในกระดาษ 1 ชนิด ที่ระดับ D ในกระดาษ 1 ชนิด และที่ระดับ E ในกระดาษ 9 ชนิด

กล่าวโดยสรุป วิธี 1,2-indanedione ร่วมกับเครื่องกำเนิดแสงหลายความถี่ สามารถตรวจพบ ลายนิ้วมือแฝงและให้ระดับคุณภาพของลายนิ้วมือแฝงที่ดีมากกว่าวิธี ninhydrin บนกระดาษหลายชนิด

 

Abstract

The objective of this research was to investigate the quality of latent fingerprints developed by using 1,2-indanedione coupled with an alternate light source on various types of papers. The results were compared with those obtained from the widely used ninhydrin method. The latent fingerprint samples were prepared on 15 types of paper and were detected for minutiae points by an Automated Fingerprint Identification System (AFIS). The results were then taken for statistical analyses.

The method of 1,2-indanedione with the alternate light source could detect the latent fingerprints on 10 types of papers while the ninhydrin method detected the latent fingerprints on 6 types of papers. In order to compare the quality of the latent fingerprints observed by the two methods, the degree of quality was graded into 5 levels, according to the numbers of minutiae points; 'A' for very high quality, 'B' for high quality, C'' for moderate quality, 'D' for low quality and 'E' for very low quality.

It was found that the method of 1,2-indanedione was graded 'A' on 7 types of papers, 'B', 'C' and 'D' on 3 types of paper, and 'E' on 5 types of papers. The ninhydrin method showed the results that can be graded 'B' on 4 types of papers, 'C' and 'D' on 1 type of paper and 'E' on 9 types of papers.

In conclusion, the quality of latent fingerprints developed on various types of papers using 1,2-indanedione with alternate light source was found to be better than those obtained from the ninhydrin method.

Article Details

Section
บทความ