การนำกากตะกอนจากกระบวนการบำบัดน้ำเสียของโรงงานผลิตลาเท็กซ์เป็นสารตัวเติม สำหรับอีพอกซีเรซิน

Main Article Content

อลิสา เชาว์ไวพจน์

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาการนำกากตะกอนจากกระบวนการบำบัดน้ำเสียจากโรงงานผลิต ลาเท็กซ์มาใช้เป็นสารตัวเติมหรือฟิลเลอร์ในอีพอกซีเรซินเปรียบเทียบกับ CaCO3 และ Glass sphere ซึ่งเป็นฟิลเลอร์ที่ใช้ในการผลิตอีพอกซีเรซิน โดยการนำกากตะกอนมาผ่านกระบวนการแยกขนาดอนุภาค โดยใช้ตะแกรงร่อนได้เป็นผงตะกอนซึ่งผงตะกอนนี้ได้นำมาทดแทนฟิลเลอร์เดิมที่อัตราส่วน 25 %, 50% , 75% และ 100% (w/w) เพื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพ ทางกลและทางเคมี จากการศึกษาพบว่าผงตะกอน สามารถนำมาเป็นฟิลเลอร์แทนการใช้ Glass sphereได้ดีกว่า CaCO3 โดยอัตราส่วนของผงตะกอนที่เหมาะสม ที่สุดที่ทำให้อีพอกซีมีสมบัติทางกลในเรื่องความต้านทานแรงอัด (Compressive strength) และความแข็ง (Hardness) สูงสุดได้แก่ Epoxy resin 50.00% (w/w) Diluent 13.50% (w/w) Fume silica 6.00% (w/w) TiO2 8.00% (w/w) CaCO3 18.00% (w/w) Glass sphere 3.00% (w/w) Solvent No.1 0.50% (w/w) และ ผงตะกอน 1.00% (w/w) ซึ่งให้สมบัติทางกายภาพในเรื่องความข้นหนืดและระยะเวลาการแห้งสัมผัส ใกล้เคียงกับสูตรมาตรฐานและจากการทดลองพบว่าอัตราส่วนของผงตะกอนที่นำมาแทนทั้ง Glass sphere และ CaCO3 ไม่มีผลต่อการทนทานต่อการกัดกร่อนของน้ำทะเลเทียม ทั้งนี้เนื่องจากคุณสมบัติทางเคมี ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของอีพอกซีเมื่อพิจารณาทางด้านราคาพบว่าต้นทุนในการผลิตลดลงและลดค่าใช้จ่าย ในการกำจัดกากตะกอนของเสียอีกทั้งเป็นการนำของเสียกลับมาใช้ใหม่และลดปัญหามลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม

 

Abstract

The replacement of fillers in epoxy resin products with the dried sludge from latex’s wastewater has been intensively studied. The dried sludge has been used in order to replace either CaCO3 or glass spheres which are typically used as fillers in epoxy resin formulation. The amount of dried sludge used in the formulation has been varied between 25%, 50%, 75% and 100% of the fillers replacement and the physical, mechanical and chemical properties have been investigated using various methods. Replacing glass spheres with dried sludge yields higher quality resin than CaCO3, based on higher compressive strength and hardness of the finished products. The recommended formulation consists of epoxy resin 50.00%(w/w), Diluents 13.5% (w/w), fume silica 6.00% (w/w), TiO2 8.00%(w/w), CaCO3 18.00%(w/w), glass spheres 3.00%(w/w), Solvent No.1 0.50%(w/w) and dried sludge 1.00%(w/w). Physical properties and drying time of the finished product from this formulation are similar to the standard formulation. The amount of dried sludge used in this study formulation, instead of using Glass sphere and CaCO3, does not affect resistance to artificial sea-water since the main ingredient, epoxy resin, does not react with artificial sea-water. This project gives an opportunity for the development and recycling of an industrial waste which decreases production capital, reduces the expense for eradicating sediment waste, and decreases a contamination problem which threatens the environment.

Article Details

Section
บทความ