การปรากฏขึ้นของลายนิ้วมือแฝงบนกระดาษด้วยนินไฮดริน

Main Article Content

เอกจิตตรา มีไชยธร

Abstract

บทคัดย่อ

ลายนิ้วมือที่พบในสถานที่เกิดเหตุส่วนใหญ่เป็นลายนิ้วมือแฝงที่ไม่สามารถมองเห็นได้ ด้วยตาเปล่า หรือมองเห็นได้ไม่ชัดเจน แต่มีเทคนิควิธีมากมายที่สามารถทำให้ลายนิ้วมือแฝงนั้นปรากฏ ขึ้นได้ ซึ่งแต่ละวิธีก็ขึ้นอยู่กับพื้นผิวของวัตถุที่ลายนิ้วมือไปประทับอยู่

นินไฮดรินเป็นสารเคมีที่ทำปฏิกิริยากับกรดอะมิโนจะให้ผลเป็นสารประกอบสีม่วงที่เรียกว่า “ Ruhemann’s purple ” นินไฮดรินเป็นสารเคมีที่ใช้ตรวจหาลายนิ้วมือแฝงบนกระดาษ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาการปรากฏขึ้นของลายนิ้วมือแฝงบนกระดาษใน ช่วงเวลาต่างๆด้วยนินไฮดรินและหาความสัมพันธ์ของการคงอยู่ของลายนิ้วมือบนกระดาษชนิดต่าง ๆ ในช่วงเวลาที่ต่างกัน โดยเลือกใช้กระดาษทั้งสิ้น 5 ชนิด คือ กระดาษถ่ายเอกสารสีขาว ซองใส่เอกสาร สีขาว ซองใส่เอกสารสีน้ำตาล กระดาษสมุด และกระดาษหนังสือพิมพ์ การวิจัยนี้ทำการเก็บข้อมูลในช่วง เดือนมิถุนายน 2551 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2552 เป็นระยะเวลา 32 สัปดาห์

ผลของการวิจัยพบว่าเมื่อเวลาผ่านไป 32 สัปดาห์ ยังสามารถตรวจเก็บลายนิ้วมือแฝงที่ติดอยู่ บนกระดาษถ่ายเอกสารสีขาว ซองใส่เอกสารสีขาวและกระดาษสมุดได้ ส่วนซองใส่เอกสารสีน้ำตาล ระยะเวลาที่นานที่สุดที่สามารถตรวจเก็บลายนิ้วมือแฝงได้คือ 7 สัปดาห์ และกระดาษหนังสือพิมพ์ระยะ เวลาที่นานที่สุดที่สามารถตรวจเก็บลายนิ้วมือแฝงได้คือ 5 สัปดาห์

 

Abstract

The latent fingerprint is the most common form of fingerprint evidence at crime scene. Since latent fingerprints are largely invisible, many detection techniques have been developed to visualize them. The selection of detection techniques depends on the surface of the substrate. Ninhydrin has been used as a reagent for the development of latent fingerprints on paper. Ninhydrin reacts with amino acids to give a dark purple coloured product known as Ruhemann’s purple.

In this research, the visualizations of latent fingerprints by Ninhydrin at different time intervals were studied. The visualizations on white photocopy paper, white document envelopes, brown document envelopes, notepad paper, and newspaper were tested during the period of June 2008 to February 2009 for a total of 32 weeks.

It was found that the latent fingerprints on white photocopy paper, the white document envelopes and notepad paper could be visualized even after the samples were kept for 32 weeks. In comparison, on the brown document envelope and on the newspaper, the latent fingerprints could be visualized by the method only within a period of 7 and 5 weeks respectively.

Article Details

Section
บทความ