การบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

Main Article Content

ธีระพล เพ็งจันทร์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามี วัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) ปัจจัยการบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพของสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษา 2) แนวทางในการบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา กลุ่ม ตัวอย่าง ได้แก่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 20 แห่ง ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม และใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามให้ข้อมูล สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาละ 25 คน รวม ทั้งสิ้น 500 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ , ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงแบน มาตรฐาน, การวิเคราะห์องค์ประกอบ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยการบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วยปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้ 1) ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลง 2) ด้านกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง 3) ด้านประสิทธิผลตามแผนปฏิบัติราชการ 4) ด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง 5) ด้านการบริหารจัดการความ เสี่ยง 6) ด้านการให้ความสำคัญกับผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 7) ด้านการมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล 8) ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ 9) ด้านคุณภาพวิชาการ 10) ด้านการพัฒนาบุคลากร 11) ด้านลักษณะสำคัญขององค์กร 12) ด้านระบบสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง 13) ด้านประสิทธิผลตามตัวชี้วัด ตามลำดับ

2. แนวทางในการบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จากความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ปัจจัยที่ค้นพบในการวิจัย มีความถูกต้อง, เป็นไป ได้ และใช้ประโยชน์ได้จริง

 

Abstract

The purposes of this research were to determine: 1) factors of the efficient public sector management of educational service area offices, and 2) The approach in the efficient public sector management of educational service area offices. The samples were the 500 officer in the educational service area offices. The research instruments were the questionnaire. The statistical indexes used to analyze the data were percentage, mean, standard deviation, factor analysis, and content analysis.

1. The factors of the efficient public sector management of educational service area offices of 1) change management, 2) strategy changes , 3) efficiency plan by government, 4) leadership change, 5) risk management , 6) focus on service recipients and stakeholders , 7) focus on human resource, 8) effectives plan by government , 9) academic quality , 10) development personnel, 11) characteristics of organization, 12) support system change, and 13) efficiency as a indicator.

2. The application of the factors from the efficient public sector management of educational service area offices which was found appropriate, accurate, realizable and in conformity with the research has been proven by expertise.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ