การพัฒนารูปแบบการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาสมรรถภาพ การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดของนักเรียนประถมศึกษา
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ข้อ คือ 1.เพื่อพัฒนารูปแบบการนิเทศนักศึกษา ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดของนักเรียน ประถมศึกษา 2.เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของรูปแบบการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิด ใช้กระบวนการสร้างและพัฒนา รูปแบบการนิเทศประกอบด้วย 4 ระยะ คือ 1) ศึกษาวิเคราะห์สภาพและข้อมูลพื้นฐานการนิเทศการสอน 2) พัฒนารูปแบบการนิเทศ 3) ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศและ 4) ประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการ นิเทศโดยการวิจัยครั้งนี้ได้ทดลองใช้รูปแบบการนิเทศกับอาจารย์พี่เลี้ยงจำนวน 5 คน นักศึกษาฝึก ประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 5 คนและนักเรียนจำนวน 180 คน ใน 5 โรงเรียน ได้มาโดยการเลือกกลุ่ม ตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เนื้อหา แบบบันทึกการสังเกต แบบประเมินตนเองด้านสมรรถภาพการสอนและสมรรถภาพการนิเทศ แบบ สังเกตการสอนแบบพรรณนาความ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามและการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และ พรรณนาความ
ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเพื่อพัฒนาสมรรถภาพการ จัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดของนักเรียนประถมศึกษามีชื่อว่า “ รูปแบบการนิเทศดับเบิ้ลพีไออี (PPIE) ” ที่ พัฒนาด้วยกระบวนการวิจัยและพัฒนา ร่วมกับแนวคิดของการออกแบบการเรียนการสอนเชิงระบบ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1.ขั้นเตรียมความรู้ / เทคนิควิธีการจัดการเรียนรู้ (Preparing = P) 2.ขั้นเตรียม วางแผนการนิเทศ (Planning = P) 3.ขั้นดำเนินการนิเทศการสอน (Implementing = I) 4.ขั้นประเมินผลการ นิเทศ (Evaluating = E) โดยรูปแบบการนิเทศที่พัฒนาขึ้นนี้มีประสิทธิภาพโดยการตรวจสอบของ ผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านและผลการนำรูปแบบการนิเทศไปใช้เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ พบว่า อาจารย์พี่เลี้ยงมีสมรรถภาพการนิเทศการสอนที่ส่งเสริมการคิดหลังใช้รูปแบบการนิเทศสูงกว่าก่อนใช้ รูปแบบการนิเทศ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูมีสมรรถภาพการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิด หลังใช้รูปแบบการนิเทศสูงกว่าก่อนใช้รูปแบบการนิเทศ และนักเรียนมีความสามารถในการคิดหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
จากการศึกษาความพึงพอใจของอาจารย์พี่เลี้ยงและนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่มี ต่อการใช้รูปแบบการนิเทศ พบว่า ทั้งสองกลุ่มมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด และนักเรียนเห็นด้วยต่อ การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในระดับเห็นด้วยมาก นอกจากนี้ผลการสัมภาษณ์และการสนทนากลุ่มจากผู้เกี่ยวข้องในการใช้รูปแบบการนิเทศ พบว่า ควร ขยายผลการใช้รูปแบบการนิเทศดับเบิ้ลพีไออี (PPIE) ในทุกๆ กลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการนำรูปแบบการนิเทศไปปรับใช้กับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในรายวิชาอื่นๆ โดยเพิ่ม จำนวนโรงเรียนมากขึ้นเพื่อประโยชน์ในการผลิตและพัฒนาครู
Abstract
The main purposes of this research were (1) to develop a student teacher field experiences supervision model to improve instructional competency that enhances thinking skills of elementary students and (2) to verify the empirical efficiency of the supervision model. The development processes of this supervision model consisted of 4 phases of Research and Development Design which were (1) analysis of related information and theories, (2) design and develop the supervision model, (3) implementation of the supervision model and (4) evaluation and improvement of the supervision model. The developed supervision model was implemented with 5 cooperating teachers, 5 student teachers together with 180 elementary students in 5 elementary schools for field experience. Research instruments were content analysis forms, self assessment forms of instructional competency and supervisory competency, observation forms for supervision process, journal writing for self recording of cooperating teachers, student teachers and researcher as a mentor of all the processes ; interview forms, questionnaires and focus group items. The obtained data were analyzed by mean ( ) standard deviation (S.D.), t-test dependent, content analysis, and narrative description.
The research results found that the student teachers field experiences supervision model called “PPIE”. which was proved to be effective by 5 specialists. The supervision model was consisted of 4 sequent steps as follow (1) Preparing of knowledge and Techniques in instruction and supervision; (2) Planning for supervision; (3) Implementing or managing instruction together with supervision; (4) Evaluating of the results of supervision model implementation.
After the implementation of the PPIE supervision model, the results revealed that the cooperating teachers’ supervisory competency, the student teacher’s instructional competency and the element school students’ thinking skills were increased higher than before the implementation the supervision model at a statistically significant level of 0.05.
Regarding to the satisfaction of the cooperating teachers and the student teachers towards the supervision model, they were satisfied with the supervision model at the highest level. The students agreed with the student teachers’ instruction that enhances thinking skills at a high agreement level. Moreover as the results of the final conference with focus group of the stakeholders, they recommended that the PPIE supervision model should be distributed to other field experience schools for the advantages of teacher professional development.