การเปรียบเทียบความพึงพอใจในความเป็นชาย และความพึงพอใจในชีวิตระหว่างกลุ่มชายรักเพศเดียวกัน ที่รับรู้ว่าตนเองเป็นชายและกลุ่มชายรักต่างเพศ ที่มีบทบาททางเพศความเป็นชายสูง

Main Article Content

ศันสนีย์ นาคะสุวรรณ

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ คือ เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในความเป็นชาย และ ความพึงพอใจในชีวิตระหว่างกลุ่มชายรักเพศเดียวกันที่รับรู้ว่าตนเองเป็นชายและกลุ่มชายรักต่างเพศ ที่มี บทบาททางเพศความเป็นชายสูง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ชายจำนวน 200 คน แบ่งเป็น ชายรักเพศ เดียวกันที่รับรู้ว่าตนเองเป็นชาย 100 คน และชายรักต่างเพศอีก 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยได้แก่ มาตรวัดบทบาททางเพศ มาตรวัดความพึงพอใจในความเป็นชาย และมาตรวัดความพึงพอใจในชีวิต และ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในครั้งนี้ คือ Descriptive Statistic และ t-test

ผลการวิจัยพบว่า

1. ชายรักเพศเดียวกันที่รับรู้ว่าตนเองเป็นชาย ร้อยละ 40 มีบทบาททางเพศลักษณะมีความเป็น หญิงสูง ร้อยละ 36 คน มีบทบาททางเพศลักษณะแอนโดรจีนี ร้อยละ13 คน มีบทบาททางเพศลักษณะไม่ เด่นชัด และร้อยละ 11 มีบทบาททางเพศลักษณะความเป็นชายสูง

2. ชายรักต่างเพศ ร้อยละ 27 มีบทบาททางเพศลักษณะแอนโดรจีนี ร้อยละ 25 มีบทบาททาง เพศลักษณะไม่เด่นชัด ร้อยละ 24 มีบทบาททางเพศลักษณะความเป็นชายสูง และร้อยละ 24 มีบทบาททาง เพศลักษณะความเป็นหญิงสูง

3. ไม่พบความแตกต่างของความพึงพอใจในความเป็นชายและความพึงพอใจในชีวิต ระหว่าง กลุ่มชายรักเพศเดียวกันที่รับรู้ว่าตนเองเป็นชายและกลุ่มชายรักต่างเพศ ที่มีความเป็นชายสูง

 

Abstract

The purpose of this study was to compare the masculinity satisfaction and life satisfaction between male homosexuals perceiving themselves as males and male heterosexuals with high masculinity sex role. Participants were 200 men; 100 male homosexuals perceiving themselves as males and another 100 male heterosexuals. The instruments were the Sex Role Scale, the Masculinity Satisfaction Scale and the Life Satisfaction Scale. Data were analyzed by descriptive statistic and t-test.

The results are as follows:

1. Male homosexuals perceiving themselves as males were found that 40% are feminine sex role, 36% are androgynous sex role, 13% are undifferentiated sex role and 11% are masculine sex role.

2. Male heterosexuals were found that 27% are androgynous sex role, 25% are undifferentiated sex role, 24% are masculine sex role and 24% are feminine sex role.

3. There are no differences on masculinity satisfaction and life satisfaction between male homosexuals perceiving themselves as males and male heterosexuals with high masculinity sex role.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ