เหตุผลในการสมรสของผู้หญิงทำงานวัยผู้ใหญ่ตอนต้นในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ศุรัณยา ปุญญพิทักษ์
พรรณระพี สุทธิวรรณ

Abstract

ทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาเหตุผลในการสมรสของ ผู้หญิงทำงานวัยผู้ใหญ่ตอนต้นในกรุงเทพมหานคร ที่เป็นหญิงรักชายและมีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้น ไป จำนวน 120 คน และ 2 ศึกษาเปรียบเทียบเหตุผลในการสมรสของผู้หญิง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มหญิงรัก ชายที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป กลุ่มหญิงรักชายที่มีการศึกษาน้อยกว่าระดับปริญญาตรี และกลุ่ม หญิงที่รักทั้งสองเพศที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ตัวแปรที่ศึกษา คือ เหตุผลในการตัดสินใจสมรส กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 153 คน แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มหญิงรักชายที่มีการศึกษาระดับปริญญา ตรีขึ้นไป จำนวน 120 คน 2. กลุ่มหญิงรักชายที่มีการศึกษาน้อยกว่าระดับปริญญาตรี จำนวน 21 คน และ3. กลุ่มหญิงที่รักทั้งสองเพศที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป จำนวน 12 คน ทั้งหมด เป็นหญิง สัญชาติไทย อายุ 25-40 ปี อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร มีสถานภาพสมรสโดยจดทะเบียนสมรสกับคู่ สมรสชายสัญชาติไทยไม่เกิน 5 ปี เป็นการสมรสครั้งแรก และมีงานทำในขณะที่ตัดสินใจสมรส คัดเลือก กลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีสุ่มแบบ Quota Sampling เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ “แบบสำรวจความคิด เห็นต่อเหตุผลในการสมรส” ผู้วิจัยได้สถิติเชิงพรรณนาประมวลผลและนำเสนอข้อมูลรายข้อและใช้สถิติ Dependent t-test ประมวลผลและนำเสนอข้อมูลรายด้าน

ผลการวิจัยพบว่า

1. เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลเหตุผลในการสมรส โดยวิเคราะห์เหตุผลรายข้อในกลุ่มหญิงรักชายที่มี การศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป พบว่า เหตุผลที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ“ฉันอยาก แต่งงานอย่างถูกต้องตามขนบประเพณี” (ด้านสังคม) “ฉันอยากให้ลูกเกิดจากพ่อแม่ที่สมรสกันอย่าง ถูกต้องตามกฎหมาย” (ด้านสังคม) และ“ฉันต้องการใครสักคนที่จะอยู่ร่วมกันยามแก่ชรา” (ด้านบุคคล)

และเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบเหตุผลรายด้านระหว่างเหตุผลด้านบุคคล (Individual Factors) และเหตุผลด้านสังคม (Social Factors) พบว่า กลุ่มตัวอย่างหญิงรักชายที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้น ไปให้ความสำคัญกับเหตุผลด้านบุคคล (Individual Factors) มากกว่าเหตุผลทางด้านสังคม (Social Factors) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

2.การวิเคราะห์เปรียบเทียบเหตุผลในการสมรส ในอีก 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มหญิงรักชายที่มี การศึกษาน้อยกว่าปริญญาตรี และกลุ่มหญิงรักทั้งสองเพศที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป พบว่า

จากการวิเคราะห์เหตุผลรายข้อ ผู้หญิงทำงานวัยผู้ใหญ่ตอนต้นในกรุงเทพมหานครที่สมรส แล้ว ทั้ง 3 กลุ่มให้ความสำคัญกับเหตุผลรายข้อคล้ายคลึงกัน โดยเหตุผลที่มีคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรกของทั้งสามกลุ่ม คือ “ฉันอยากแต่งงานอย่างถูกต้องตามขนบประเพณี” (ด้านสังคม) “ฉันอยาก ให้ลูกเกิดจากพ่อแม่ที่สมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมาย” (ด้านสังคม) และ “ฉันต้องการใครสักคนที่จะ อยู่ร่วมกันยามแก่ชรา” (ด้านบุคคล)

และเมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบเหตุผลรายด้านระหว่างเหตุผลด้านบุคคล (Individual Factors) และเหตุผลด้านสังคม (Social Factors) พบว่า เฉพาะกลุ่มหญิงรักชาย และกลุ่มหญิงรักทั้งสองเพศที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปให้ความสำคัญกับเหตุผลด้านบุคคล (Individual Factors) มากกว่าเหตุผล ทางด้านสังคม (Social Factors) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดย กลุ่มหญิงรักชายมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ.001 และ กลุ่มหญิงรักทั้งสองเพศที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ในกลุ่มหญิงรักชายที่มีการศึกษาน้อยกว่าปริญญาตรีไม่พบความแตกต่างนี้

 

Abstract

The purpose of this survey research was 1. to investigate reasons for marriage of early adult working women in Bangkok who have sexual orientation to men with bachelor’s degree or above, and 2. to compare the results of 3 subject groups: women attracted to men, women attracted to both men and women with bachelor’s degree or above, and women attracted to men with none-bachelor’s degree. Variable studied was reasons for marriage. Participants were 153 Thai first timemarried women, aged between 25 – 40 years old, resided in Bangkok, legally licensed to Thai spouse no longer than 5 years, and were being employed when decided to enter marriage. They were separated into 3 groups : women attracted to men with bachelor’s degree or above (n=120), women attracted to men with none-bachelor’s degree (n = 21), and women attracted to both men and women with bachelor’s degree or above (n=12). Quota Sampling technique was applied. The instrument was a set of questionnaires designed to examine reasons for marriage. Descriptive statistics were used for data of reasons in items, and Dependent t-test was used for data of reasons in categories.

Findings were following:

1. Among all 70 items of questionnaires, first 3 items with the highest mean scores founded in women attracted to men with bachelor’s degree or above were: “I want to marry properly as people traditionally do.” (Social), “I would like my child to be born of a legally married couple.” (Social), and “I need someone to take care of me when I’m aged.” (Individual).

While considering reasons for marriage in the whole picture, in categories, this subject group significantly emphasized on individual factors. (p=.001)

2. In comparing the above results with other 2 subject groups :

In items, the 3 highest mean scores were similar in all 3 groups; “I want to marry properly as people traditionally do.” (Social), “I would like my child to be born of a legally married couple.” (Social), “I need someone to take care of me when I’m aged.” (Individual)

In categories, individual factors were significantly emphasized than social factors in 2 research groups: women attracted to men only (p=.001) and women attracted to both men and women with bachelor’s degree or above. (p=.05). Such difference was not found in women attracted to men only with none-bachelor’s degree.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ