ปัญหาความสัมพันธ์แม่สามี-ลูกสะใภ้ในสังคมไทยตามการรับรู้ของลูกสะใภ้

Main Article Content

หญิง บัณฑิตตระกูล
พรรณระพี สุทธิวรรณ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองของสตรีที่อยู่ในฐานะลูกสะใภ้ ถึงการรับรู้ ปัญหาในเรื่องความสัมพันธ์แม่สามี-ลูกสะใภ้ที่เกิดขึ้นโดยทั่ว ๆ ไปในสังคมไทย โดยการสำรวจความ คิดเห็นจากสตรีจำนวน 100 คน ในกรุงเทพมหานคร อายุระหว่าง 25-30 ปี ที่สมรสแล้วและมีบุตรแล้ว โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ลูกสะใภ้ที่อาศัยอยู่บ้านเดียวกับแม่สามีจำนวน 50 คน และลูกสะใภ้ที่ไม่ได้อยู่กับ แม่สามีจำนวน 50 คน เพื่อทราบความคิดเห็นของสตรีเหล่านี้ เกี่ยวกับการรับรู้ปัญหา สาเหตุของปัญหา ผลกระทบของปัญหา และแนวทางป้องกันแก้ไขปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างแม่สามีกับลูกสะใภ้ใน สังคมไทย

ผลการวิจัยพบว่า ทั้งลูกสะใภ้ที่อาศัยอยู่บ้านเดียวกับแม่สามี และลูกสะใภ้ที่ไม่ได้อาศัยอยู่กับ แม่สามีต่างมีความคิดเห็นที่คล้ายคลึงกัน ดังนี้คือ

1. การรับรู้ปัญหา: ลูกสะใภ้ทั้ง2 กลุ่มมีการรับรู้ปัญหาในเรื่องนี้เหมือน ๆ กัน โดยทั้งสอง กลุ่มต่างรายงานตรงกันว่า ลักษณะปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างแม่สามีกับลูกสะใภ้ที่พบสูงสุดใน สังคมไทย 3 อันดับแรก คือ 1) สามีไม่ชอบให้ภรรยามีปัญหากับแม่ของตน 2) ปัญหาความสัมพันธ์นี้มีอยู่ ในทุกสังคม ไม่ว่าจะเชื้อชาติหรือภาษาไหน และ 3) ปัญหาความสัมพันธ์แม่สามี-ลูกสะใภ้ในสังคมไทย มี อยู่ในทุกครอบครัว

2. สาเหตุของปัญหา: ลูกสะใภ้ทั้งสองกลุ่มยังมีความเห็นตรงกันว่า สาเหตุใหญ่ 3 อันดับแรกที่ ทำให้เกิดปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างแม่สามีกับลูกสะใภ้ในสังคมไทย คือ 1) แม่สามีกับลูกสะใภ้ต้องอยู่ ร่วมบ้านเดียวกัน 2) แม่สามีกับลูกสะใภ้มีพื้นเพครอบครัวที่แตกต่างกัน และ 3) แม่สามีก้าวก่ายชีวิต ครอบครัวของลูกสะใภ้

3. ผลกระทบของปัญหา: ในเรื่องผลกระทบของปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างแม่สามีกับ ลูกสะใภ้ในสังคมไทย ลูกสะใภ้ทั้งสองกลุ่มแสดงความคิดเห็นในแนวทางเดียวกันว่า ผลกระทบที่รุนแรง 3 อันดับแรก คือ 1) สร้างความเครียดให้กับลูกสะใภ้ 2) สร้างความเครียดให้กับคนกลางคือสามี 3) ทำให้ สามีวางตัวไม่ถูกเมื่ออยู่ต่หน้าแม่และภรรยาในขณะเดียวกัน และทำให้เกิดความไม่ราบรื่นในชีวิตสมรส ของลูกสะใภ้

4. การป้องกัน/แก้ไขปัญหา: ลูกสะใภ้ทั้งสองกลุ่มต่างเสนอความเห็นตรงกันว่า วิธีแก้ไข ปัญหาที่น่าจะทำมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ 1) แม่สามีและลูกสะใภ้ควรยอมรับความเป็นตัวของตัวเองของ อีกฝ่ายหนึ่ง 2) เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น แม่สามีกับลูกสะใภ้ควรเปิดอกพูดคุยกันตรง ๆ ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และ 3) เมื่อสมรสแล้ว คู่สมรสควรจะแยกบ้านเพื่อสร้างครอบครัวใหม่

5. สำหรับความคิดเห็นว่าใครในครอบครัวน่าจะมี “ความเครียด” มากที่สุดจากปัญหา ความสัมพันธ์ระหว่างแม่สามีกับลูกสะใภ้ในสังคมไทย ผลการวิจัยพบว่า ลูกสะใภ้ที่อาศัยอยู่บ้านเดียวกับ แม่สามีเชื่อว่า “ลูกสะใภ้” เป็นผู้ที่เครียดกับปัญหานี้มากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) แต่ ลูกสะใภ้ที่แยกบ้านไม่ได้อยู่กับแม่สามีเชื่อว่า “สามี” เป็นผู้ที่เครียดกับปัญหานี้มากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ (p < .05)

 

Abstract

The objective of this research was to study the mother-in-law-daughter-inlaw relationship problems in Thai society in general. Fifty Thai married women who stay with their mother-in-law and another fifty Thai married women who do not stay with their mother-in-law age between 25-35 years old and situated in Bangkok were surveyed in order to acknowledge of their opinions toward the perception, cause, impact and the prevention of mother-in-law and daughter-in-law’s conflict. The research findings revealed that both groups of daughter-in-law who stay with their mother-in-law and who did not stay with their mother-in-law have quite similar opinions toward this relationship problem as follow:

1. Both groups of daughter-in-law have the same 3 highest opinion scores toward the perception of this problem that 1) the husband does not want his wife to have problems with his mother, 2) this problem is universal and 3) this problem exists in every families in Thai society.

2. Both groups of daughter-in-law have the same 3 highest opinion scores that the causes of this problem are 1) mother-in-law and daughter-in-law staying in the same house, 2) the different way of living lives between them and 3) the interference of mother-in-law to her son’s family.

3. Both groups of daughter-in-law have their 3 highest opinion scores that this problem might impact 1) the stress of daughter-in-law, 2) the stress of the husband 3) role confusion of the husband when he has to participate with his mother and his wife in the same time and this relationship problem is also establish the difficulty in daughter-in-law’s marriage.

4. Both groups of daughter-in-law have their 3 highest opinion scores toward ways to prevent from having problems between mother-in-law and daughterin- law 1) mother-in-law and daughter-in-law should accept the nature of one another, 2) both parties should talk about how do they feel when they have problems with each other and 3) daughter-in-law and her husband should have their own residence after marriage.

5. The group of daughter-in-law who stay with their mother-in-law believe that the person who has the most stress from this relationship problem is the daughterin- law which is differ significantly from their opinion toward the stress of both mother-in-law and the stress of the husband (p < .05). But the group of daughter-inlaw who do not stay with their mother-in-law believe that the person who has the most stress from this relationship problem is the husband which is differ significantly from their opinion toward the stress of both mother-in-law and daughter-in-law (p < .05).

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ