การวิเคราะห์หมึกสีน้ำเงินจากปากกาลูกลื่นด้วยเทคนิคทินเลเยอร์โครมาโตกราฟีและการวิเคราะห์ภาพ

Main Article Content

มยุรี สมบูรณ์

Abstract

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยในครั้งนี้คือ การวิเคราะห์หมึกปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินบนกระดาษ ด้วยเทคนิค thin-layer chromatography (TLC) ร่วมกับโปรแกรมวิเคราะห์ภาพของ chromatogram ผลของ การวิเคราะห์ที่ได้จะถูกนำมาใช้ประเมินความเหมือนหรือความแตกต่างของหมึกปากกาที่ใช้ นำตัวอย่าง ปากกาลูกลื่นสีน้ำเงินทั้งหมด 28 ยี่ห้อ มาเขียนและระบายลงบนกระดาษ จากการศึกษาตัวทำละลายในการ สกัดหมึก พบว่าตัวทำละลายที่เหมาะสมที่สุด คือ methanol และเฟสเคลื่อนที่ที่เหมาะสมคือระบบตัวทำ ละลาย n-butanol / ethanol / H2O (50:15:10, v/v/v) แผ่น TLC ที่ได้จะนำไปสแกนด้วยเครื่องสแกนเนอร์ที่ ใช้ในสำนักงาน (300 dpi) และบันทึกเป็นแฟ้มประเภท bitmap (bmp) จากนั้นนำไปวิเคราะห์ด้วย โปรแกรมวิเคราะห์ภาพ ซึ่งโปรแกรมจะอ่านและเปรียบเทียบค่าความเข้มของ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน (RGB) บนภาพ TLC ผลจากการวิเคราะห์ภาพบนแผ่น TLC เดียวกันที่เตรียมโดยการเขียนและการระบาย ของปากกาแท่งเดียวกันจำนวน 15 ยี่ห้อ พบว่าสามารถแยกได้ถูกต้อง 70.4% และ 61.5% ตามลำดับ แต่ เมื่อนำหมึกของปากกาแท่งเดียวกันจำนวน 5 ยี่ห้อ มาวิเคราะห์บนแผ่น TLC ต่างแผ่นกัน ผลที่ได้มีความ ถูกต้องเพียง 18.5% และ 6.7% จากการเขียนและการระบายตามลำดับ และเมื่อนำปากกาจำนวน 25 ยี่ห้อ มาเขียน และระบายบนกระดาษ สำหรับการวิเคราะห์ เพื่อแยกชนิดของปากกาพบว่าสามารถแยกได้ 36.0% และ 2.0% ตามลำดับ ผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นความเป็นไปได้ในการใช้วิธี TLC ร่วมกับ โปรแกรมวิเคราะห์ภาพเพื่อตรวจพิสูจน์เอกสารทางนิติวิทยาศาสตร์

 

Abstract

The aim of this work is to analyse blue ballpoint pen inks on documents by the technique of thin-layer chromatography (TLC) coupled with an image analysis of the chromatogram. The results were then used to evaluate the similarity and difference of the inks used. Twenty-eight blue ballpoint pens of different brands were selected for this study. The most suitable solvent used for the extraction of ink was methanol. The dissolved ink solution was then analysed by TLC using a solvent system of n-butanol / ethanol / H2O (50:15:10, v/v/v) as a mobile phase. The chromatogram of the ink was digitized by using an ordinary office scanner (300 dpi) and the image was saved as a bitmap (bmp) file. The red,green and blue (RGB) profiles of the image were processed and used to distinguish the ink by a computer software. For fifteen pens of different brands, when the inks were analysed on the same TLC plate, 70.4 % of the chromatogram images obtained from the written entries can be correctly identified as similar while 61.5 % of the images from painted entries was evaluated correctly as those from the same pen. However, when the inks were applied on different TLC plates, for a selected set of 5 pens, only 18.5% and 6.7% of the images can be correctly identified as the image from the same pen in written and painted formats respectively. In the differentiation study of 25 brands of pens, the method can differentiate the inks correctly with the percentages of 36.0% and 2.0% for the written and painted documents respectively. The result from the present work demonstrates the feasibility of the TLC and color image analysis technique in forensic examination of documents.

Article Details

Section
บทความ