การสร้างสภาพเป็นส่วนตัวในพื้นที่สาธารณะ

Main Article Content

พุทธิกันต์ สมมาตย์

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความเป็นไปได้ในการสร้างสภาพเป็นส่วนตัวใน พื้นที่สาธารณะ โดยมีการศึกษาจากเนื้อหาทางทฤษฎีทางจิตวิทยาและทางสถาปัตยกรรมที่มีกศึกษา มาแล้ว มาวิเคราะห์ออกมาเป็นหลักการในการออกแบบระดับของสภาพเป็นส่วนตัวในพื้นที่สาธารณะ โดยลักษณะดังกล่าวที่ได้ทำการศึกษาแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมของผู้ใช้สอยและกายภาพที่ สามารถก่อให้เกิดสภาพเป็นส่วนตัวที่เหมาะสม โดยอาศัยกลไกขององค์ประกอบของสถาปัตยกรรม ไม่ว่าจะเป็น ระยะห่าง ระดับ ที่กำบัง ช่องเปิดและกายภาพที่โอบล้อม เพื่อนำมาใช้ออกแบบพื้นที กิจกรรมที่มีความเหมาะสมในสภาพเป็นส่วนตัวในพืนที่สาธารณะ โดยมีบริบทของ สวนสันติชัย ปราการ เป็นสถานที่ทำการทดลองออกแบบ

ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างแนวคิดในการออกแบบ มีลักษณะดังต่อไปนี้

1. สภาพการณ์ของสวนสันติชัยปราการในแต่ละตำแหน่งนั้น ซึ่งในภาพรวมของลักษณะทาง กายภาพของพื้นที่เดิมมีการออกแบบสำหรับกิจกรรมอยู่แล้ว แต่เนื่องด้วยสภาพการณ์ที่แท้จริงนั้น ปริมาณการใช้สอย ความถี่ในการใช้พื้นที่ในแต่ละช่วงเวลาที่มีความแตกต่างกัน ทำให้พื้นที่บางพื้นที่มี ความแออัดขาดสภาพเป็นส่วนตัวที่เหมาะสม หรือพื้นที่บางพื้นที่แทบไม่ได้มีการใช้งานในตลอดวัน ซึ่ง พื้นที่ดังกล่าวทำให้เรารับรู้ถึงการไม่เชื้อเชิญให้ดูใช้งาน

2. ในความหมายของสภาพเป็นส่วนตัว สภาพการ์ณหรือสถานการณ์ในพื้นที่ที่เป็น สาธารณะ ณ ช่วงเวลาใช้งาน มีผลต่อการรับรู้สภาพเป็นส่วนตัว จากการรวบรวมและศึกษาข้อมูล เนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกับสภาพเป็นส่วนตัวมีเนื้อหาและข้อโต้แย้งในหลายๆกรณี ผู้ออกแบบจึง สรุปและประมวลผลของเนื้อหาต่างๆที่มีความสัมพันธืเชื่อมโยงกัน และทำการแบ่งระดับของสภาพ เป็นส่วนตัวในพื้นที่สาธารณะ

3. ในการออกแบบพื้นที่สภาพเป็นส่วนตัวตามระดับของสภาพการณ์ ประเด็นสำคัญที่มีผล ต่อการรับรู้สภาพเป็นส่วนตัวในพื้นที่ คือ การรับรู้พื้นที่ระหว่างหน่วย (การรับรู้สาร******ภายนอก และ การที่ภายนอกรับรู้สารของภายใน) ดังนั้นการออกแบบพื้นที่ที่มีสภาพเป็นส่วนตัวที่เหมาะสมคือ การ ควบคุมหรือลดทอนต่อการรับรู้สารของแต่ละพื้นที่ โดยใช้กลไกขององค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม (ระยะห่าง ระดับ ที่กำบัง ช่องเปิดและกายภาพที่โอบล้อม) มาทำการควบคุมและลดทอนการรับรู้สาร ที่ส่งออกมา

ผลที่ได้จากการทดลองออกแบบ ลักษณะของพื้นที่ที่ออกแบบใหม่ในสวนสันติชัยปราการ มีลักษณะของการสร้างสรรค์ที่ว่างที่สามารถปรับเปลี่ยนต่อปริมาณการใช้สอยในพื้นที่ตามช่วงเวลา รองรับต่อกิจกรรมที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้นๆและใช้แกนมุมมองเพื่อสร้างการรับรู้ทางสายตาให้มีการ รับรู้แต่ละพื้นที่

คำสำคัญ : สภาพเป็นส่วนตัว, การรับรู้สาร, พื้นที่สาธารณะ

 

Abstract

The privacy in public spaces was the prime objective of this architectural research scheme for the Master degree in Silpakorn University . The design of privacy in the public place for individual was based on two theories. Pshychology and architecture.The analystical method would determine the relationship of individual user whom interact directly with. The physical properties of the area in public space. Several mechanisms of architect were employed through of this study,eg.,space/gap ,level,shelter,void and enclosures. The renue for this experiment was the Santi Chaiprakarn park and it’s perimeter.

The analystical findings and characteristics of the ideolistical designs are :

Firstly, :The Santi Chaiprakarn park has already created based on utilization of physical aspects for various activities that specifically designed for particular individual user, including a street furnitures ,etc. Albeit , the frequency for a particular time of the day may varies. Some areas was crowned and suggested to be a place with less privacy in public. Where as, another areas was raccant and less activities or people are not interested.

Secondly., interm of privacy in the public space, one may define as a place in publics where he/she feels comfortable of a specific duration. And vice versa . The finding demonstrated some data that have a concreate relation of individual privacy, but at the same time there are several contradictory aspects also found. Hence, the researcher has tried to draw a summary base on the holistic approache of all factors that to each and other. The solution of design for privacy in public space may determine into many levels of satisfaction.

Thirdly ; The design of privacy in public which was discovered from this experiment led to the perception of information produced from the user (and vise versa the perception to acknowledge the existing of another one from an inside information as well.) These for , to design the most privacy in public space, control factor, the reduction to information in particular area by the role of architectural mechanism ., simultaneously .(eg. Space , level ,shelter ,void and enclosure). These notation led to new concluding remark: viz., re-design some areas in the Santi Chaiprakarn is possible to support the full utilization in particular period/term for privacy in the public space of the designated park of Santi Chaiprakarn park

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ