การออกแบบเลขนศิลป์บนบรรจุภัณฑ์อาหารส่งออกในประเทศแถบตะวันออกกลาง

Main Article Content

ชาคริต เกตุเรืองโรจน์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทางด้านวัฒนธรรม ประกอบกับ การศึกษาข้อมูลด้านผลิตภัณฑ์อาหารส่งออกในประเทศแถบตะวันออกกลาง ทั้งนี้สืบเนื่องจากนโยบายของ ภาครัฐ ในการขยายศักยภาพทางการค้าไปยังตลาดใหม่ ประกอบกับความต้องการสินค้าอาหารที่เพิ่มมากขึ้น และกลุ่มผู้บริโภคมุสลิมที่มีกำลังซื้อสูงและลักษณะทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตที่แตกต่าง จึงเป็นที่มาของ การศึกษาข้อมูลเพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางในการออกแบบเลขนศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ โดยดำเนินการวิจัย ออกเป็นขั้นตอนดังนี้คือ เริ่มจากการรวบรวมข้อมูลภาคเอกสารและภาคสนาม พร้อมการสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้สรุปแนวทางในการออกแบบ จากนั้นทำการออกแบบผลงานโดย แบ่งกลุ่มแนวคิดทางด้านวัฒนธรรมออกเป็น 3 กลุ่ม คือ เอกลักษณ์ทางด้านสถาปัตยกรรม,เอกลักษณ์ ทางด้านวิถีชีวิตและเอกลักษณ์ทางด้านการแต่งกาย รวมผลงานออกแบบ 15 ชิ้น จากนั้นทำการประเมินผล งานโดยผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆได้แก่ ด้านศิลปวัฒนธรรม ด้านออกแบบเลขนศิลป์และด้านสินค้าส่งออกรวม ทั้งหมด 7 ท่าน พร้อมการสัมภาษณ์และรับฟังข้อเสนอแนะ จนนำมาสู่ขั้นตอนการสรุปผลการวิจัย ด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัยพบว่า การออกแบบเลขนศิลป์ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ทางด้านวัฒนธรรมนั้น มีส่วนช่วย สร้างการยอมรับ อีกทั้งยังสามารถเป็นแนวทางให้นักออกแบบและผู้ประกอบการ นำไปประยุกต์ใช้ โดยใน ภาพรวมของผลงานออกแบบภายใต้แนวคิดด้านวัฒนธรรม 15 ชิ้น มีผลการประเมินค่าเฉลี่ยในระดับดี (\bar{X} = 3.23) โดยพิจารณาตามเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรม 3 กลุ่ม ตามลำดับดังนี้คือ ลำดับที่1 กลุ่มเอกลักษณ์ ทางด้านสถาปัตยกรรม ซึ่งมีผลประเมินค่าเฉลี่ยในระดับดีมาก (\bar{X} = 3.33) ลำดับที่ 2 กลุ่มเอกลักษณ์ทาง ด้านวิถีชีวิต มีผลประเมินค่าเฉลี่ยในระดับดี (\bar{X} = 3.19) และลำดับที่ 3 กลุ่มเอกลักษณ์การแต่งกาย มีผล การประเมินค่าเฉลี่ยในระดับดี (\bar{X} = 3.16) ตามลำดับ และจากผลการวิจัยในข้างต้นทำให้ได้ข้อสรุปถึงความ เป็นไปได้ ในการนำแนวคิดด้านวัฒนธรรมมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความเชื่อ และทัศนคติของผู้คน อันจะช่วยสร้างการยอมรับและนำมาซึ่งการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์นั้นต่อไป

 

Abstract

The purpose of the research is to study and analyse cultural information together with information on exported food products in middle east countries. Form The Royal Thai Government has the development and promotion of Halal food. To achieve the objective of producing certified Halal products in accordance with Islamic principles and accepted by Muslim consumers. The methods to proceed the research listed as follows : starting by collecting document and field research information . Then, interview specialists in the related fields to summarise design methods. Then, design the products by dividing cultural concepts into 3 groups : architectural, customary and costumal identity, then, collect 15 pieces of designed products, after that, evaluate the work, together with interview and comment by 7 experts in the fields of art ,culture, graphic design and exported products. Finally, the research’s result is concluded with statistic and standard deviation. The research’s result found that graphic design, which represents cultural identity, is one of many factors for audience’s acception. Furthermore, it becomes a guideline for designers and enterprises to apply and adapt. In an overview of 15 pieces of designs under cultural concept, the average assessment appears good (\bar{X} = 3.23). Based on 3 cultural identity groups listed chronologically order : first, architectural identity group has best average assessment (\bar{X} = 3.33) ; second, customary identity group has good average assessment (\bar{X} = 3.19) ; and third, costumal identity group has good average assessment (\bar{X} = 3.16).

According to the result, we can conclude that applying cultural concepts for design is possible. The design will be harmonious with customs, believes and attitudes of people. It will increase acception and bring more decisions to buy products in the future.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ