การออกแบบเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อมสำหรับสถานที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตรในประเทศไทย

Main Article Content

ชยนันต์ ชุติกาโม

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาและออกแบบเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเสริมการท่อง เที่ยวเชิงเกษตรในประเทศไทย กรณีศึกษา : เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เนื่องจากการท่องเที่ยวเชิงเกษตรใน ประเทศไทย มีแนวโน้มจะเพิ่มความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆเพราะประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มี ทรัพยากรอย่างสมบูรณ์ ปัญหาที่พบได้บ่อยขณะเดินทางท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรได้แก่ ความ ไม่เพียงพอของป้ายต่างๆ ความไม่ชัดเจนในการสื่อความหมายและขาดองค์ประกอบที่สำคัญคือ ระบบป้าย สัญลักษณ์แนะนำสถานที่

แนวทางการศึกษาหารูปแบบของเลขนศิลป์สิ่งแวดล้อม ระบบป้ายสัญลักษณ์สถานที่ท่องเที่ยว เชิงเกษตร มีวิธีการวิจัยโดยการศึกษาค้นคว้าเก็บรวบรวมข้อมูลภาคเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องข้อมูล ภาคสนามโดยการใช้แบบสอบถามนักท่องเที่ยว แล้วทำการออกแบบสรุปผล ตลอดจนได้มีการประเมินผล งานออกแบบจากผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาผลงานให้มี ความสมบูรณ์

ผลงานวิจัยสามารถสรุปออกมาเป็นผลงานออกแบบได้ดังนี้ ชุดระบบป้ายสัญลักษณ์สถานที่ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร 1 ชุด ซึ่งประกอบด้วย 1. สัญลักษณ์ภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร 2. สัญลักษณ์การ ท่องเที่ยวเชิงเกษตร 3. ป้ายบอกทิศทาง 4. ป้ายแผนที่ 5. ป้ายบอกรายละเอียด 6. ป้ายประดับตกแต่ง 7. ป้ายบอกตำแหน่งสถานที่ โดยทั้งหมดมีความสวยงาม สอดคล้องกลมกลืนและสื่อความหมายเป็นที่เข้าใจง่าย แก่ผู้ใช้งาน

 

Abstract

The purpose of this research was to study and design the environmental graphic for signage system in order to support the Agrotourism in Thailand. Case study: Koh-Kred province, Nonthaburi. According to Thailand is an agriculture country with the fully resource, the Agrotourism is tending to be more important part in Thailand. However, it is often found the trouble while travelling in the agrotourism, the signage is inadequate and cannot communicate the definition clearly. Also they are lack of signage system to describe the landmark which is the main factor of Agrotourism.

The studying finds the form of the environmental graphic for signage Agrotourism system which is used the research method by collecting the data, related research document and field work data, using questionnaires to explore the tourists’ attitude and opinion. Then, the result would be generated the artwork and conclusion. Also it would be evaluated by the expert of design and qualified specialist in related function in order to develop the artwork to be completed.

As a result of the study, a set of environmental graphic design in Agrotourism system includes 1. Agrotourism Pictogram 2. Agrotourism Logo 3. Direction Sign 4. Directory Sign 5. Information Sign 6. Decoration Sign 7. Identification Sign in total, the signage would be beautiful design, harmony and ease to communicate with the users.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ