ครอบครัวนกฮูก

Main Article Content

วีรดา บัวบังใบ

Abstract

บทคัดย่อ

วิทยานิพนธ์นี้ เป็นการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผา โดยมีที่มาของ แนวความคิดจากเรื่องราวของนกฮูก ซึ่งทัศนคติของผู้วิจัย มีความรู้สึกว่านกฮูกไม่ได้มีความน่ากลัวอย่างที่คน ไทยส่วนใหญ่เชื่อกัน และเห็นว่านกฮูกเป็นนกที่มีความน่ารักน่าเอ็นดู ด้วยลักษณะทางกายภาพต่างๆ รวมถึง การแสดงออกของแม่นกฮูกต่อลูกนกฮูก ที่แสดงให้เห็นถึงความรักและความหวงแหน สร้างสรรค์ผลงานโดย ใช้รูปทรงจากของใช้ภายในบ้านผสานกับลักษณะเด่นของนกฮูก เพื่อสื่อความหมายถึงความเป็นครอบครัว เป็นเหมือนส่วนหนึ่งของบ้าน เพื่อแสดงออกถึงอารมณ์ความรู้สึกของผู้วิจัยที่มีต่อนกฮูก และเป็นการสร้าง ทัศนคติในด้านบวกแก่คนทั่วไป ให้เห็นมุมมองที่น่ารักน่าเอ็นดูของนกฮูก

การสร้างสรรค์ผลงานขึ้นรูปด้วยดินสโตนแวร์ ซึ่งมีอัตราส่วนของวัตถุดิบ ดังนี้

ดินดำสุราษฎร์ธานี      ร้อยละ 50
ดินขาวลำปาง          ร้อยละ 45
ซิลิกา                  ร้อยละ 10
ทรายละเอียด           ร้อยละ 4

เอบโกบด้วยน้ำดินสี ที่ใช้ดินสโตนแวร์ ร้อยละ 60 ผสมกับดินพอร์ซเลนร้อยละ 40 ใส่สีสำเร็จรูป มุ่งเน้นให้ได้สีที่อ่อนหวานละมุนละไม ลดความรู้สึกด้านลบและตกแต่งด้วยเทคนิคลายหินอ่อนและการ จัดเรียงดินสลับชั้นสี เคลือบกึ่งมันกึ่งด้านและเคลือบผิวมันในบางบริเวณเพื่อให้ผลงานมีสีสันสดใสขึ้น เผาเคลือบที่อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส ในบรรยากาศสันดาปสมบูรณ์

การสร้างสรรค์ของโครงการประกอบด้วยผลงานประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผาจำนวน 4 ชุด แสดงเนื้อหาเรื่องราวตามจินตนาการผ่านรูปทรง สีสันของดินในเทคนิคลายหินอ่อน ที่สามารถตอบสนอง แนวความคิด ที่มุ่งเน้นความน่ารักน่าเอ็นดูของนกฮูก และการสร้างสรรค์เป็นไปตามกระบวนการที่มุ่งหวังไว้ ซึ่งสามารถนำไปใช้และพัฒนาผลงานเครื่องเคลือบดินเผาได้ต่อไป

คำสำคัญ : เอนโกบ, เทคนิคลายหินอ่อน

 

Abstract

The creation of this project included ceramic sculptures. The source of the ideas came from the story of the owl. The attitude towards the owl from the researcher is that owls do not have a horrifying character as most Thai people believe. And that the owl is a bird that have a sweet and lovely with different physical characteristics. As well as the expression of the mother owl and baby owls showing love and care and convey the meaning of family. To express the emotions of the researcher on the owl. And to create a positive attitude of people toward owls and communicate the lovely view of the owl.

The creation formed by stoneware clay. With the ratio of raw materials as follows:

Ball Clay (Surat Thani)      50 %
Kaolin (Lampang)             45 %
Silica                               10 %
Milled sand                        4 %

Engobe with color-clay on 60 percent stoneware clay mixed with 40 percent porcelain and stain colors. The color is focusing on sweet and soft colors. Reducing negative feelings by decorated with hand build agateware technique and clay layers alternating colors arrangements. Color glazes coating to make the piece more colorful. Each work was fired at 1,200 degrees Celsius in the oxidation firing.

The project included with four set of ceramic sculptures, which show the content of imagination through the shape, colorful techniques of marble clay. The concept of the project is to focusing on cuteness of owl and creativity to the process intended. Which can be used and develop ceramic work, the future.

Key Word (s): Engobe, Hand Build Agateware Technique

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ