รอยไทยแปร ณ ท่าเตียน : สถาปัตยกรรมเชิงทดลอง กรณีศึกษาย่านท่าเตียน

Main Article Content

กฤษฎา ศรีนาราง

Abstract

บทคัดย่อ

รอยไทยแปรในงานสถาปัตยกรรม คือการนำข้อมูลอันเป็นเอกลักษณ์ที่ชี้ชัดได้ถึงความเป็น เอกลักษณ์มาใช้เป็นแนวทางในกระบวนการสร้างแนวความคิดและเครื่องมือในการออกแบบสถาปัตยกรรม

ความหลากหลายของข้อมูล ผ่านกระบวนการตีความและการทดลองของผู้ศึกษา เกิดเป็นข้อสรุป ของแนวความคิดและเครื่องมือในการออกแบบที่หลากหลาย เพื่อเป็นการเชื่อมโยงข้อมูลของความเป็น เอกลักษณ์แบบไทย แนวความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรม และการทดลองออกแบบ จึงทำการศึกษา และวิเคราะห์ข้อมูลจากพื้นที่ตั้งสำหรับทำการทดลองออกแบบ ผ่านการคัดเลือกย่านที่มีความสอดคล้องกับ ข้อสรุปของข้อมูลเและแนวความคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมที่ผู้ศึกทำการทดลอง

ย่านท่าเตียนเป็นพื้นที่ที่ปรากฏถึงร่องรอยทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตอันแสดงถึงเอกลักษณ์ แบบไทยทั้งในรูปแบบของกิจกรรมเดิมในอดีตและบริบทโดยรอบของพื้นที่ การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล ภายในย่านท่าเตียนเพื่อสร้างเป็นประเด็นที่สามารถแสดงความเฉพาะตัวของย่าน ได้ข้อสรุปที่เป็นประเด็นใน การศึกษาเพื่อเป็นแนวทางในการทำการศึกษาคือ การเรียงตัวของพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม ในรูปแบบของ การอยู่ร่วมกันของ ชุมชนท่าเตียน วัดพระเชตุพลวิมลมังคลาราม และพระบรมมหาราชวัง โดยมุ่งหวังในการ ทำการศึกษาเรื่องการเรียงตัวของพื้นที่ ผ่านลักษณะทางกายภาพและการใช้งานของพื้นที่ทางสถาปัตยกรรม เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างแนวความคิดและเครื่องมือในการออกแบบ และสร้างเป็นรูปแบบของ สถาปัตยกรรม ที่มีความเหมาะสมที่จะนำเครื่องมือในการออกแบบนี้เข้าไปพัฒนาและแสดงศักยภาพของ เครื่องมือในการออกแบบ

ผลจากการศึกษา รูปแบบสถาปัตยกรรมที่ถูกออกแบบผ่านแนวความคิดและเครื่องมือในการ ออกแบบที่พัฒนามาจากข้อมูลความที่แสดงถึงลักษณะความเป็นไทย เกิดเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่มุ่งหวัง ให้เกิดการรองรับการใช้งานในแบบปัจจุบัน

คำสำคัญ : ลักษณะไทย

 

Abstract

The tools for Thai architecture design is to make use of the information that represents Thai uniqueness as a guide to ideas generation and tools productions in architecture.

The researcher had analyzed and experimented various information to be able to create ideas and tools production method. Those are meant to be the link between Thai uniqueness, conceptual and tools for design, designing experiment, and the analysis of the findings. As a result, appropriate areas that conform to fundamental findingsand researcher’s interest have been chosen.

ThaTien area reflects historical marks and the way of life that exhibits Thai uniqueness in forms of past activities and surrounding areas. After data collection and analysis for its characteristics, it can be concluded that the sequence and position of the people and community, Wat Pho and Grand Palace. The objective of this study is to understand the sequence and position of the area through architecture and the usage of the architecture design for ideas generation and tools production, of which, will develop in forms of architecture that is appropriate to be further develop and exhibit the competencies of this designing tool.

As a result of the study, that had been designed with the use of ideas and tools developed from Thai uniqueness will create that aims to use functional by adjusting to match the findings on Thai uniqueness.

Keyword : Thai Character

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ