สัตว์ในงานทัศนศิลป์ไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2477-2550

Main Article Content

ปวีณา เอื้อน้อมจิตต์กุล

Abstract

บทคัดย่อ

สัตว์ถูกนำเสนอในผลงานทัศนศิลป์เป็นจำนวนมาก แต่ทว่ายังไม่มีผู้ใดให้ความสนใจศึกษาอย่าง จริงจัง การทำวิทยานิพนธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแรงจูงใจ จำแนกประเภทรูปแบบหรือกระบวนแบบ และเนื้อหาของผลงานที่นำเสนอรูปสัตว์ในงานทัศนศิลป์ไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2477-2550 เพื่อสร้างความเข้าใจ พื้นฐานตั้งแต่กระบวนการทางความคิด และปฏิกิริยาตอบสนองเชิงพฤติกรรมของศิลปิน กอปรกับเป็น ประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยด้านทฤษฎีศิลป์ต่อไป ทั้งนี้ผู้วิจัยได้คัดเลือกศิลปินซึ่งเป็นผู้มีบทบาทสำคัญจำนวน 30 ท่าน ทำการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสาร รูปภาพ และการสัมภาษณ์ศิลปิน นำมา วิเคราะห์เชิงพรรณนา โดยบรรยายประกอบภาพผลงานศิลปะ ซึ่งผลการวิจัยพบว่า

1. แรงจูงใจภายในเป็นพลังผลักดันพฤติกรรมไปสู่การสร้างสรรค์รูปสัตว์ในงานทัศนศิลป์ โดยมี แรงจูงใจภายนอกเป็นสิ่งเสริมแรง

2. สัตว์ในงานทัศนศิลป์ถูกถ่ายทอดด้วยกระบวนแบบทั้ง 4 ประเภท ได้แก่ กระบวนแบบเชิง จินตนาการและสัญลักษณ์ กระบวนแบบเชิงรูปแบบนิยม กระบวนแบบปรนัยนิยมเชิงแสดงความถูกต้อง เหมือนจริง และกระบวนแบบอัตนัยนิยมเชิงอารมณ์ความรู้สึก ซึ่งมีสัดส่วนของการแสดงออกแตกต่างกัน ตามความสนใจของศิลปินโดยมีศิลปินให้ความสนใจนำเสนอด้วยกระบวนแบบเชิงจินตนาการและสัญลักษณ์ มากที่สุด และกระบวนแบบอัตนัยนิยมเชิงอารมณ์ความรู้สึกน้อยที่สุด

3. สัตว์ในงานทัศนศิลป์แสดงเนื้อหาส่วนตัว และเนื้อหาสังคม โดยมีศิลปินให้ความสนใจ นำเสนอด้วยเนื้อหาทั้ง 2 ประเภทเท่ากัน ซึ่งรูปสัตว์ที่ปรากฏล้วนเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมไทย อีก ทั้งศิลปินทุกท่านต่างมีเจตจำนงในการนำเสนอรูปสัตว์เพื่อสื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ ทั้งสัญลักษณ์แทน ตนเอง และสัญลักษณ์แทนสิ่งอื่นหรือบุคคลอื่นในสังคม

 

Abstract

Animals are presented in many visual artworks, but no one has studied on this topic. The purposes of this thesis are study creative motivation and classify styles and contents of animal images in Thai visual artworks from 1934 – 2007, as well as to build up basic understanding for cognitive processes and artists’ behavioral reactions. This thesis will also be useful for further studies on art theory. Amount of 30 artists were selected from their qualification in their expertise in art field. In order to implement the thesis, researcher chose the qualitative approach by gathering information from documents, pictures, and individual interviews, and synthesizing that valuable information. After that, the results from the analysis were demonstrated in the descriptive explanation by presenting artworks with their varieties. The conclusion illustrate as follows:

1. Intrinsic motivation is the main force coming from behaviors to create animal pictures in visual arts, by urging from Extrinsic Motivation to increase degree of reinforcement.

2. Animals in visual arts were presented in four styles; i) the style of fantasy and symbol, ii) the style of formal order, iii) the style of objective accuracy, and iv) the style of emotion. These four styles have different ratio in artwork presentations based on artists’ inspiration and interesting. The result also showed that the style of fantasy and symbol in artworks reached the highest degree of artists’ interesting, while the style of emotion was the lowest one.

3. Artists presented both personal function and social function of animals in visual arts in similar proportion which connected to personal lifestyle and Thai culture. Moreover, every artist tended to present animal pictures in symbolical way, representing the artist himself, other interesting things, or other attracting persons in society.

Article Details

Section
บทความ : ศิลปะและการออกแบบ