รูปแบบการประเมินผลตามสภาพจริงในการจัดเรียนรู้พลศึกษา สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินผลตามสภาพจริงในการจัดการเรียนรู้พลศึกษา สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้รูปแบบ คือ ครูผู้สอนพลศึกษา 2 คนนักเรียน 19 คน และผู้ปกครองของนักเรียน 19 คน รวมทั้งสิ้น 40 คน ซึ่งผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการประเมินผลตามสภาพจริงในการจัดการเรียนรู้พลศึกษา สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กที่เหมาะสม ควรประกอบด้วย 1) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการประเมินผล คือ ครูผู้สอน นักเรียน เพื่อนนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน 2) กระบวนการประเมินผล ที่จะต้องมุ่งประเมินผลผู้เรียน 5 ด้านคือ ความรู้ เจตคติ ทักษะ สมรรถภาพทางกาย และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และ 3) คุณภาพของผู้เรียน ซึ่งผู้เรียนต้องได้รับการประเมินตามตัวชี้วัดระดับชั้นของหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และต้องมีผลการประเมินผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด เมื่อนำรูปแบบการประเมินผลตามสภาพจริงในการจัดการเรียนรู้พลศึกษา สำหรับโรงเรียนขนาดเล็ก ที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้ พบว่า สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จริงได้อย่างเหมาะสม
This research aimed to develop an authentic assessment model for physical education learning management among Grade Three students in small-sized schools. The participants of the experiment consisted of two physical education teachers, nineteen students, and nineteen parents, a total of forty participants. The findings of this research revealed the following: This study indicated that an authentic assessment model for physical education learning management in a small-sized schools should consist of the following aspects: 1) the involvement of all stakeholders, including teachers, students, peers and parents; 2) the assessment procedure should consist of a variety of aspects: affective, desired characteristics, knowledge, physical fitness and skills; and 3) the students should be assessed in accordance with the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551, which has an established criteria. After the implementation of the Authentic Assessment Model in Physical Education Learning Management in a small-sized school, it found that this model was suitable.