การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ธิดา บู่สามสาย

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและ หลังเรียนด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R  และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการอ่านจับใจความด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดหนองตะโก ที่เรียนอยู่ใน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557  จำนวน 32 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี  2) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านจับใจความ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็น สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (t-test)แบบ dependent

          ผลการวิจัยพบว่า  1) ทักษะการอ่านจับใจความ ด้วยเทคนิคการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  2) ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อวิธีสอนแบบ SQ4R โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดกาญจนบุรี  ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

 

          The purposes of this research are as follows: 1) To compare of reading comprehension skills of grade 5 students before and after being taught by using SQ4R technique focusing on reading texts about local information of Kanchanaburi province. 2) To study the students’ opinions for grade 5 students using SQ4R technique focusing on reading texts about local information of Kanchanaburi province.

          The following instruments are used : 1)  Data collection from the lesson plans by using SQ4R technique for grade 5 students 2)  Achievement tests both Pre-test and Post-test of reading comprehension for grade 5 students before and after being taught by using SQ4R technique. 3)  A questionnaire inquiring the students’ opinions.

          The data was analyzed by representing the percentage, mean, standard deviation and t-test dependent

          The results of this research were concluded as follow; 1.The students’ learning outcomes on reading comprehension using SQ4R learning technique focusing on reading texts about local information of Kanchanaburi province were statistically significant higher than before the instruction at .05 level 2.  The students’ opinions towards the instruction of grade 5 students before and after being taught by using SQ4R learning technique focusing on reading texts about local information of Kanchanaburi province were overall at the highest agreement level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ