สถานการณ์ในการเรียนและความมีเหตุมีผลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการเรียนรู้ แบบนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ของรัฐและโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วไป
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาอำนาจในการทำนายพฤติกรรมการเรียนรู้ แบบนักวิทยาศาสตร์ รุ่นเยาว์ ทั้งด้านรวมและด้านย่อย ด้วยกลุ่มตัวแปรสถานการณ์ในการเรียน กลุ่มตัวแปรจิตลักษณะเดิม และกลุ่มตัวแปรจิตลักษณะตามสถานการณ์ ในกลุ่มนักเรียนที่มีลักษณะภูมิหลังต่าง ๆ โดยอาศัยรูปแบบทฤษฎีปฏิสัมพันธ์นิยมเป็นกรอบในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสาย การเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ในโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยนครปฐมและโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชบวรนิเวศศาลายา ในพระสังฆราชูปถัมภ์ จำนวน 612 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เก็บข้อมูลด้วยแบบวัดประเภทมาตรประเมินรวมค่า 6 ระดับ จำนวน 8 แบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นใหม่ตามนิยามปฏิบัติการและนำแบบวัดมาปรับปรุง มีค่าความเชื่อมั่นแบบสัมประสิทธิ์แอลฟ่า ระหว่าง .82 ถึง .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิเคราะห์พบว่าตัวแปรสำคัญที่ทำนายพฤติกรรมการเรียนรู้แบบนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้แบบนักวิทยาศาสตร์ การกำกับตนเอง เจตคติที่ดีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้แบบนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ความมีเหตุมีผล การสนับสนุนทางสังคมจากผู้ปกครอง และความพร้อมของโรงเรียนในการจัดการเรียนรู้แบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการเรียนรู้แบบนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ได้ร้อยละ 55 และพบว่าตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเองในการเรียนรู้แบบนักวิทยาศาสตร์ เป็นตัวแปรที่ถูกคัดเลือกเข้าสมการทำนายอันดับแรกมากที่สุดทั้งในกลุ่มรวมและ กลุ่มย่อย
The purposes of this comparative correlational research were to study the predictive power of science-based learning behaviors on psychological, social factors and psychological states in the overall and biosocial factors group. Based on the interactionism model as a conceptual of research framework. The samples consisted of 612 students whostudy at the senior high school level in the program of mathematics and science in Mahidol Wittayanusorn School, Kanjanapisek Wittahayalai Nakornphathom School and RattanaKosinsomphot Bowonniwetsalaya School Under the Patronage. The research consisted of 8 instruments, which were in the form of summated rating scales. The reliability with alpha coefficients was between .82 - .90 The data were analyzed by Stepwise Multiple regression analysis.
The research findings were as follows: In overall group, independent factors are self-efficacy in science-based learning, self-regulation, attitude toward science-based learning behaviors, reasonableness, social support from parents and readiness of school education management which could predict the science-based learning behaviors at 55% and the most factor which used for predict is self-efficacy in science-based learning in overall group and sub group.