การใช้วรรณกรรมขุนช้างขุนแผนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสุพรรณบุรี
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางในการใช้วรรณกรรมขุนช้างขุนแผนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสุพรรณบุรีและศึกษาความสนใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการนำวรรณกรรมขุนช้างขุนแผนมาใช้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสุพรรณบุรีโดยใช้กระบวนการวิจัยผสมผสานงานวิจัยเชิงคุณภาพและงานวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า 1) การใช้วรรณกรรมขุนช้างขุนแผนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสุพรรณบุรี จะช่วยเพิ่มศักยภาพและคุณค่าการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสุพรรณบุรีได้เนื่องจากจังหวัดสุพรรณบุรีมีทรัพยากรการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับวรรณกรรมขุนช้างขุนแผนเช่น มีสถานที่จริงที่กล่าวถึงในวรรณกรรมขุนช้างขุนแผนที่ยังปรากฏอยู่ในปัจจุบัน มีการสร้างคุ้มขุนแผน บ้านขุนช้าง รูปจำลอง ภาพจิตรกรรมในวรรณกรรม มีถนนสายสำคัญในจังหวัดสุพรรณบุรีที่ตั้งชื่อตาม ตัวละครต่าง ๆ ในเรื่องขุนช้างขุนแผน ซึ่งมีความสอดคล้องตามแนวทางการใช้วรรณกรรมเพื่อการท่องเที่ยว และตามแนวทางตัวอย่างการดำเนินการที่ดี สามารถนำมาสร้างสรรค์และจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวซึ่งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนรวมถึงชุมชนในท้องถิ่น ควรเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนกิจกรรมนี้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ เพื่อเป็นการสร้างระบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ช่วยกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น และยังเป็นการอนุรักษ์วรรณกรรมขุนช้างขุนแผน 2) นักท่องเที่ยวมีความสนใจในด้านการนำวรรณกรรมขุนช้างขุนแผนมาใช้ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดสุพรรณบุรีกลุ่มตัวอย่างมีความสนใจในด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสนใจให้มีการนำวรรณกรรมขุนช้างขุนแผน มาใช้ในการในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดสุพรรณบุรี สนใจให้มีการจัดจำหน่ายของที่ระลึกที่เกี่ยวข้องกับวรรณกรรม และสนใจให้มีการส่งเสริมและอนุรักษ์วรรณกรรมขุนช้างขุนแผนในจังหวัดสุพรรณบุรี ส่วนในด้านการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างมีความสนใจในด้านการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวอยู่ในระดับ มากที่สุด โดยต้องการให้มีการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวและเน้นความเชื่อมโยงใน
The Objective of this thesis was 1) to study the use of literature KhunchangKhunphaen for promoting cultural tourism in Suphanburi province 2) to study the attention of tourist to use literature KhunchangKhunphaen for promoting cultural tourism in Suphanburi province. The research process combines qualitative research and quantitative research. The findings were that 1) the use of literature KhunchangKhunphaen for promoting cultural tourism in Suphanburi province enhance potentiality and value of cultural tourism in Suphanburi province. Due to Suphanburi Province has cultural tourism resources related to literature KhunchangKhunphaen. Such as a real place mentioned in the literature KhunchangKhunphaen that also appears in the present. The creation of Khunphaenvillage ,Khunchang house , effigy , painting. There are important roads in SuphanburiProvince named after different characters in KhunchangKhunphaen according to the uses literature for tourism. According to example of great execution, can bring inventive and organize activities to promote tourism. Which government agencies and private organizations.including local communities should come into the role in supporting this activity continuously and systematically order to create sustainable tourism. Distribute income to the local and also preserve literature KhunchangKhunphaen. 2)Tourists are interested in adopting literature KhunchangKhunphaen to use for tourism promotion by the promotion of cultural tourism in Suphanburi province. The samples are interested in promoting tourism in the highest level. By the adopting attention to literature KhunchangKhunphaen use in the development of cultural tourism of Suphanburi province. Interested in the distribution of souvenirs related to literature and interested to the promotion and preservation of literature KhunchangKhunphaen in Suphanburi province. And in term of tourism activities, the samples are interested of tourism activities in the highest level. They require the promotion of tourism and highlight link in the literature KhunchangKhunphaen including the tourism programs related to literature KhunchangKhunphaen.