การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

จันทร์เพ็ญ วิเศษสิงห์
มาเรียม นิลพันธุ์

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  2) พัฒนาและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80  3) ทดลองจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4  4) ประเมินทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น ประกอบด้วย 4.1) ประเมินทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น  4.2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น  กลุ่มตัวย่าง ที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนวัดไผ่ล้อม(พูลประชาอุปถัมภ์) อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม จำนวน 40 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558  เป็นเวลา 16 ชั่วโมง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น  2) แผนการจัดการเรียนรู้  3) แบบทดสอบวัดทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ 4) แบบประเมินความสามารถทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์จากหนังสือเล่มเล็ก 5) แบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ(%) ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน(t-test Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content  Analysis)

           ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน พบว่า นักเรียนและผู้เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญและต้องการให้จัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น เกี่ยวกับสถานที่สำคัญที่อยู่ใกล้บริเวณโรงเรียน ประวัติความเป็นมาของวัด พิธีกรรมโบราณของวัดไผ่ล้อม วิถีชีวิตของผู้คนที่สร้างอาชีพในตลาดปฐมมงคล 2) ผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะประกอบด้วย 1) ชื่อเรื่อง 2) คำนำ 3) คำชี้แจง 4) มาตรฐานตัวชี้วัด  5) แบบทดสอบก่อนเรียน 6) แบบฝึกทักษะ จำนวน 3 เรื่อง  เล่าขานตำนานวัดไผ่ล้อม  น้อมนำพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ แวะสักนิดตลาดปฐมมงคล 7) แบบทดสอบหลังเรียน ซึ่งแบบฝึกทักษะมีประสิทธิภาพ  82.74/82.63  3) ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีความสนใจในการเรียน สามารถเขียนสะกดคำ แต่งประโยค และเขียนเรื่องเชิงสร้างสรรค์จากข้อมูลท้องถิ่น 4) ผลการประเมินและปรับปรุงแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น พบว่า 1) นักเรียนมีทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความสามารถทางการเขียนเชิงสร้างสรรค์ จากหนังสือเล่มเล็ก อยู่ในระดับมากที่สุด  2) นักเรียนมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยใช้ข้อมูลท้องถิ่น อยู่ในระดับมาก

 

           The  purposes  of  this  research  were  to: 1. study the fundamental  data  for  the  development  of  creative  writing  skill  exercise  by  using  local  information  for  the  fourth  grade  students, 2. develop  and  determine  the  efficiency  of  creative  writing  skill  exercise   by  using local  information  for  the  fourth  grade  students  to  meet  the  selected  efficient  standard  criterion  of  80/80,  3. try out  the  creative  writing  skill  exercise  by  using  local  information  for  the fourth  grade  students , and  4. evaluate  creative  writing  skill  by  using  local  information  on the following; 4.1. evaluate  creative  writing  skill  by using  local  information  before  and  after  learning with creative writing skill  exercise  by  using  local  information , and 4.2. study  students’ opinion  toward  learning with creative writing skill exercise by using local information. The samples comprised 40 fourth grade students at Watpailom (Poonprachaupatam) School  during  the  second  semester  of   the  academic year 2015  for 16 hours. Research  instruments  consisted  of  creative writing  skill exercise  by  using  local  information, lesson  plans, a creative  writing skill  test, creative writing assessment  forms  from  small  book, and  questionnaire. The data  were  analyzed  by mean, standard  deviation, t-test dependent and content analysis.

           The results were as follow: 1) The  results of study fundamental data found that students  and  stakeholders were considered  to be  importance  learning with the creative writing  skill  exercise  by using local information about the  important places near the school, such as history of Watpailom and ancient  rites of Watpailom  including the life style of  people at Pathommongkol  market. 2) The  result  of  development  creative  writing skill exercise  by using  local  information  consist of; 1)The title, 2)Preface, 3)explanation, 4) standard indicator, 5) pre-test, 6) the three skill exercises, Laokhantamnanwatpailom, Nomnumpiteegumsaksit, Waesaknidtaladpathommongkol, 7) post-test. The  efficiency  of  the  skill  exercise  was 82.74/82.63  3) The result of learning with creative writing skill  exercise  by using local information for the fourth grade students found that the students interested in learning and able to spell writing, make sentences, and write creative story from local information. 4) The  result of evaluation  and  improvement  the  creative  writing  skill  exercise   by  using  local  information found that  1) the creative  writing  skill  of  students  after  learning  were significantly  higher  than  before  learning at 0.05 level and creative  writing  skill  from  a  small  book  was  at  the  highest  level, 2) The students’ opinion toward learning with creative writing  skill  exercise   by using local information was at a high level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ