การพัฒนาแบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการเรียนการสอนโครงสร้างข้อความร่วมกับผังกราฟิก สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพแบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการเรียนการสอนโครงสร้างข้อความร่วมกับผังกราฟิก ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ ก่อนและหลังการใช้แบบฝึก และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา หลังการใช้แบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาปฐมวัยและสาขาจิตวิทยา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการเรียนการสอนโครงสร้างข้อความร่วมกับผังกราฟิก จำนวน 8 บท 2) แบบทดสอบวัความสามารถทางการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนและหลังเรียน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจหลังใช้แบบฝึก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test แบบจับคู่ ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ โดยการเรียนการสอนโครงสร้างข้อความร่วมกับผังกราฟิกที่พัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.35/78.13 แสดงว่าแบบฝึกมีประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ดี 2) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อแบบฝึกการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยการเรียนการสอนโครงสร้างข้อความร่วมกับผังกราฟิกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นอยู่ในระดับดี
The purposes of the study were to 1) develop and test the efficiency of English reading exercises based on discourse structure and graphic organizers instruction of second year students, faculty of Education, Silpakorn University, 2) compare the students’ English reading ability, and 3) survey students’ satisfaction on the exercises. The samples consisted of 25 second year students, faculty of Education,Silpakorn University during the second academic year of 2015. The instruments used for this experiment were 1) eight units of reading exercises based on discourse structure and graphic organizer instruction 2) an English reading ability test and 3) a questionnaire used to survey the subjects’ satisfaction on the constructed materials. The paired-sample t-test was used to compare the students’ English abilities before and after studying the materials. The average of the practice scores was compared with the posttest scores in order to determine the efficiency of the English reading exercises. The mean and standard deviation of the questionnaire score were used to measure the students’ satisfaction on the materials. The results of the study were as follows: 1) the efficiency of the materials was 77.35/78.13 for the reading practice tests and formative reading ability posttest, respectively. The average percentage means of the constructed materials exceeded the expected criterion. (75/75) 2) the students’ English reading ability after studying the English reading exercise based on discourse structure and graphic organizers instruction was significantly higher than that before studying English reading exercise at the 0.05 level. And 3) the students’ satisfaction on the eight units towards the English reading exercises were highly positive.