การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ
ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม
ลุยง วีระนาวิน
ทิพย์วรรณ สุขใจรุ่งวัฒนา

Abstract

            การวิจัยในครั้งนี้  มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินสภาพแวดล้อม/บริบท ปัจจัยนำเข้า 2) เพื่อประเมินกระบวนการผลิตบัณฑิต 3)  เพื่อประเมินผลผลิตของการดำเนินการ 4) เพื่อศึกษาสภาพปัญหา อุปสรรค ความต้องการ และข้อเสนอแนะของผู้มีส่วนได้เสียที่มีต่อการบริหารจัดการหลักสูตร โดยมีผู้ให้ข้อมูลของการวิจัยครั้งนี้จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มกรรมการบริหารหลักสูตร  2) กลุ่มนักศึกษาปัจจุบัน 3) กลุ่มอาจารย์ผู้สอน  และ 4) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ  ในการประเมินหลักสูตรครั้งนี้เป็นการประเมินความก้าวหน้า (Formative  Evaluation) การเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติการแจกแจงความถี่  ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย ( ̅x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์และสรุปประเด็นสำคัญจากการสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า

            1. การประเมินสภาพแวดล้อม/บริบท ด้านวัตถุประสงค์ พบว่า ผู้ประเมินทุกกลุ่มมีความเห็นสอดคล้องกันว่าวัตถุประสงค์ของหลักสูตรทั้ง 5 ข้อ มีความชัดเจน เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน มีความสอดคล้องกับนโยบายของหน่วยงานต่างๆ และมีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนด้านปรัชญาและวัตถุประสงค์หลักสูตร ในระดับมากถึงมากที่สุด ( ̅x= 4.52-4.63)  ด้านโครงสร้างของหลักสูตรพบว่ามีความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุด ( ̅x= 4.34 - 4.66) ด้านเนื้อหาวิชาของหลักสูตรพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ( ̅x= 4.34 – 4.55)

            2. การประเมินปัจจัยนำเข้า ด้านปัจจัยสนับสนุนของหลักสูตร ได้แก่ ทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินการ  สื่อ  ตำรา  และสถานที่  มีความเหมาะสมในระดับมาก ( ̅x= 3.59 – 3.83) ด้านสิ่งที่เกี่ยวข้องในหลักสูตร ได้แก่ คุณลักษณะผู้สอนพบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด ( ̅x= 4.45 – 4.55)  

            3. การประเมินกระบวนการ  ประกอบไปด้วย 2 ด้าน ได้แก่ด้านกิจกรรมการเรียนการสอนพบว่า มีความเหมาะสมในระดับมาก ( ̅x= 4.28 – 4.36) ด้านการวัดและประเมินผลพบว่ามีความเหมาะสมในระดับมาก ( ̅x= 4.17 – 4.48)

            4. การประเมินผลผลิต กรรมการบริหารหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน  มีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลผลิตของหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาพัฒนศึกษาสอดคล้องกัน โดยเห็นว่ามีความเหมาะสมในระดับมากถึงมากที่สุด ( ̅x= 4.12 – 4.69)

            5.การศึกษาสภาพปัญหา  อุปสรรค  ความต้องการและข้อเสนอแนะของผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีต่อการบริหารจัดการหลักสูตรพบว่า  ควรมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางพัฒนศึกษากับสถาบันทางการศึกษาอื่นๆ  ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้หลักสูตรมีความเข้มแข็ง  

 

          The research aims to 1) evaluate the program in terms of context, input. 2)evaluate advanced process. 3)evaluate  the course of production. 4)Study of the problems, needs and suggestions by containing 4 groups of data providers that are 1)The management committee group 2) The present students group 3). The professors group and 4)The experts group. In the program of this evaluation isformative  evaluation. Data  were  collected  by  in quantitative data and qualitative methods. Tools in this research are the questionnaire, the interview, and the analysis of quantitative data which apply statistics to enumerate frequency, the percentage (%), the average ( ̅x),and the standard deviation (SD).The analysis of qualitative data applies analysis and summary of key points from the interview. The result of the research found that:

          1. Context Evaluation in terms of purpose found that the evaluators of all groups agreed that the purpose of the program in 5 topics is clear, suitable for present situation, correspond with policy of various organizations, and agreed with students’ requirement. The purpose of the program which found that it’s in high to highest suitable level ( ̅x= 4.52 – 4.63), the structure of the program which found that it’s in high to highest suitable level       ( ̅x= 4.34 - 4.66), the contents of the program which found that it’s in high to highest suitable level ( ̅x= 4.34 – 4.55)

           2. Input Evaluation consists of 3 aspects that are the other educational supporting elements which found that it’s in high suitable level ( ̅x= 3.59 – 3.83) the professors which found that it’s in high to highest suitable level ( ̅x= 4.45 – 4.55).

           3. Process Evaluation consists of 2 aspects that are the teaching aspect which found that it’s in high  suitable level ( ̅x= 4.28 – 4.36) the measurement and evaluation aspect found that it’s in high suitable level ( ̅x= 4.17 – 4.48)

           4. The products of during program, the management committee and the professors group opinion concerning production of Doctor of Philosophy Department of Development Studies consistency. And evaluation aspect found that it’s in high to highest suitable level ( ̅x= 4.12 – 4.69)

           5. Study of the problems needs and suggestions of those involved with the management were found: Should the creation of the Development Education Network in collaboration with other academic institutions. This is part of the curriculum has been strengthened.

 

 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ