การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเรื่อง ช่างปูนปั้น สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง ช่างปูนปั้น และศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ ทักษะกระบวนการทำงาน ผลงานและความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาช่างปูนปั้น จำนวน 20 คน กระบวนการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนหลัก คือ การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ และการทดลองจัดการเรียนรู้ เป็นเวลา 14 สัปดาห์ ประเมินผลการเรียนรู้ด้วยแบบทดสอบวัดความรู้ แบบประเมินทักษะกระบวนการทำงาน แบบประเมินผลงาน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติวิเคราะห์ คือ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยด้วย t-test dependent
ผลการศึกษา พบว่า การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง ช่างปูนปั้น ที่ประกอบด้วยวัตถุประสงค์ ความคิดรวบยอด/ขอบเขตเนื้อหาสาระ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อ/แหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล จำนวน 7 แผน แต่ละแผนมีขั้นตอนการบูรณาการ 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นนำเสนอ 2) ขั้นวางแผน 3) ขั้นปฏิบัติ และ 4) ขั้นประเมินผล โดยเน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในลักษณะการทำโครงงาน ผลของการจัดการเรียนรู้ พบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน เรื่อง ช่างปูนปั้น สามารถทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 โดยมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน ทักษะกระบวนการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก การประเมินผลงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก และความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก
This study aimed to develop project-based learning activities on bricklayers and to investigate effects of the learning management on learning achievement in terms of knowledge, working skills, working results and learners’ satisfaction with the learning activities among 20 Mathayom Seuksa 5 (Eleventh- Grade) students in Kasetsart University Laboratory School] Kamphaeng Sean Campus, Educational Research and Development Center, who had registered for the course of concrete works. This consisted of 2 major phases; development of learning activities based on the project and trial of learning management for 14 weeks. Then, learning evaluation was conducted through an achievement (knowledge) test, an evaluation form of the working skills, an evaluation form of the working results, and a satisfaction questionnaire. Data were analyzed in terms of frequency distribution, average mean, per cent, standard deviation and t-test.
The study results showed that the development of project-based learning activities on bricklayers consisting of 7 learning plans including objectives, concepts / content scope, learning management process, learning media / sources and learning measurement and evaluation. In each learning plan, there were 4 steps of integration; 1) presentation, 2) planning, 3) doing, and 4) evaluating. During the learning management, it must have been emphasized that the learners must really practice in terms of a project work. The learning management results showed that the development of project-based learning activities on the bricklayers could make the students’ learning achievement before and after the learning management significantly different at the level of .01. Thus, the students’ scores after the learning management were averagely higher than those before. The overall working skills were averagely at the high level. The overall evaluation of the students’ working results were averagely at the high level and finally, the students’ satisfaction with the learning management was averagely at the high level.