ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับสุขภาพองค์การ ของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ระดับสุขภาพองค์การของสถานศึกษา และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษากับสุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1 จำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ หลักประสิทธิผล หลักการตอบสนองหลักประสิทธิภาพ หลักนิติธรรม หลักความโปร่งใส หลักมุ่งเน้นฉันทามติ หลักการมีส่วนร่วม หลักภาระรับผิดชอบ หลักการกระจายอำนาจ หลักความเสมอภาค ตามลำดับ
2. สุขภาพองค์การของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านความเข้มแข็งขององค์การ ด้านขวัญและกำลังใจ ด้านการติดต่อ สื่อสาร ด้านการมุ่งเน้นเป้าหมาย ด้านความสามัคคี ด้านการใช้อำนาจ ด้านการใช้ทรัพยากร ตามลำดับ
3. การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวกในทิศทางเดียวกันกับสุขภาพองค์การของสถานศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง ได้แก่ หลักความเสมอภาค และหลักการมีส่วนร่วม และด้านที่มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ ได้แก่ หลักการกระจายอำนาจ หลักมุ่งฉันทามติ หลักภาระรับผิดชอบหลักนิติธรรม หลักประสิทธิภาพ หลักการตอบสนอง หลักความโปร่งใส และหลักประสิทธิผล ตามลำดับ
The purposes of this research to study: 1) the level of school administration according to good governance principle, 2) the level of school organizational health, and 3) relationship between school administration according to good governance principle and organizational health of school under Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 1. The research samples were 265 teachers in school under Phetchaburi Primary Educational Service Area Office 1. The research tool was a 5-level rating scale questionnaire. The data were analyzed by using mean, standard deviation, and Pearson’s products moment correlation coefficient. The research results were as follows:
1. The school administration according to good governance principle was at a high level both in overall and in each aspect. When the aspects of good governance were individually considered, they could be ranked in descending order of their means as follows: effectiveness, responsiveness, efficiency, rule of law, transparency, consensus orientation, participation, accountability, decentralization, and equity.
2. The school organizational health was at a high level both in overall and in each aspect. When the aspects of organization health were individually considered, they could be ranked in descending order of their means as follows: organizational strength, work morale, communication, goal orientation, unity, authority, and resource utilization.
3. There was positive relationship at a moderate level with statistical significance at the 0.01 level between school administration according to good governance principle and school organizational health. When the aspects of relationship were individually considered, the ones with relationship at a moderate level were equity and participation, and those at a low level were decentralization, consensus orientation, accountability, rule of law, efficiency, responsiveness, transparency, and effectiveness.