การประเมินมาตรฐานการบริหารการทดสอบของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ประจำปีการศึกษา 2557: ศึกษากรณีศูนย์สอบ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Main Article Content

รุ่งฤดี กล้าหาญ

Abstract

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินมาตรฐานการบริหารการทดสอบของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน)ประจำปีการศึกษา2557: ศึกษากรณีศูนย์สอบมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ได้กลุ่มตัวอย่างมีจำนวนรวม 1,170 คน ประกอบด้วย หัวหน้าสนามสอบ/กรรมการกลาง ผู้ประสานงาน กรรมการคุมสอบ และนักเรียนที่เข้าสอบ GAT/PAT  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบทดสอบ แบบตรวจสอบรายการ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและแบบบันทึกข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบ 2 ทาง ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

           1. การประเมินมาตรฐานด้านปัจจัยนำเข้า พบว่ามีมาตรฐานในระดับมากที่สุด ส่วนการทดสอบความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการบริหารการทดสอบของหัวหน้าสนามสอบ/กรรมการกลาง กรรมการคุมสอบได้คะแนนในระดับสูง คิดเป็นร้อยละ 86.49-87.58

           2. การประเมินมาตรฐานด้านกระบวนการดำเนินการบริหารการทดสอบ ทั้ง 3 ระยะคือ ก่อนการจัดสอบ ระหว่างการจัดสอบ และหลังเสร็จสิ้นการจัดสอบ กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 100 มีความคิดเห็นว่า เป็นไปตามมาตรฐาน  

           3. การประเมินมาตรฐานด้านผลผลิต ค่าเฉลี่ยคะแนนโดยรวมเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักเรียนผู้เข้าสอบ ด้านการรับสมัคร และด้านการดำเนินการจัดสอบ อยู่ในระดับมาก ด้านกรรมการคุมสอบและด้านข้อสอบ อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการทดสอบระดับความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า กลุ่มที่อยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพและต่างจังหวัด มีความพึงพอใจต่อการบริหารการทดสอบไม่แตกต่างกัน

 

          The purpose of this research was to evaluate the standards of testing administration in National Institute of Educational Testing Service (Public Organization) in academic year 2014: a case study of Srinakharinwirot University test center. The samples of this research were 1,170 various respondents in Srinakharinwirot University Test Center by using multi-stage random sampling method. The instruments were rating-scale questionnaires, test, check list, semi-structured interview and record form. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, two-way Anova, and content analysis. The findings were the followings:

            1.  Input standard of testing administration was reached the highest standard. Testing in staff members’ knowledge about standardized-testing administration was up to the high standard (86.49 to 87.58 percent).

            2.  Evaluation of Standard of testing Administration process which divided up into three stages: before, during and after examination was up to standard. The total samples were 100 percent completely agreed that it reached the standard.

            3. Output Evaluation of testing administration was acceptable. The average of students’ overall satisfaction of the enrolment and testing administration was on a high level, the proctors and the test were on the highest level. Testing administration satisfied Bangkokian students and students from other provinces were not significantly different from Bangkokian students at the 0.05 level.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ