ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ

Main Article Content

วรรณธนะ ปัดชา
สืบสกุล อยู่ยืนยง

Abstract

          บทความวิจัยนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบวัดผลก่อนและหลังเรียนมีกลุ่มควบคุม มีวัตถุประสงค์เพื่อ  (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ หลังเรียน ระหว่างนักเรียน ที่ได้รับจากการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา กับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามแบบ สสวท. (2) เปรียบเทียบทักษะทางด้านสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนที่ได้รับจัดการเรียนการสอนแบบสะเต็มศึกษา เรื่องอัตราส่วนตรีโกณมิติเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 72 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 ของโรงเรียนวัดห้วยจรเข้วิทยาคม จังหวัดนครปฐม ดำเนินการวิจัยโดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะสเต็มศึกษา และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง อัตราส่วนตรีโกณมิติสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ สสวท. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) กลุ่มนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา หลังเรียนมีทักษะทางด้านสะเต็มศึกษาสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) กลุ่มนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

 

          The purposes of this research were 1) to compare the mathematics achievement applications of trigonometry ratios article after study between students in mathayom suksa 5, who study by STEM education and IPST method 2) to compare the STEM skills about trigonometry of students in Mathayom Suksa V after studying with STEM education model and criteria 70 percent and 3) study the students’ opinions about the STEM education method applications of trigonometry ratios. The research samples were 72 students from mathayom suksa V at semester 2 of academic year 2015 of Wathuaichorakhe Wittayakhom school, Nakhon Pathom province. The research instruments were lesson plans achievement tests, STEM skills test and questionnaires. Data were analyzed by mean, standard deviation and t test. The results of research found that (1) The mathematical achievement of STEM education method was higher than. (2)The skills of STEM education method was statistically higher than the 70 percent. (3) According to the questionnaire requesting opinions about the STEM education students who were taught through IPST method at .05 level of significance. criterion at .05 level of significance method, the students revealed their most satisfaction.

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ