การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสุนทรียสาธกเพื่อเสริมสร้าง การบริหารจัดการตนเองของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

วันทนา ปทุมอนันต์
ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา
ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการตนเองของผู้สูงอายุ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสุนทรียสาธกเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการตนเองของผู้สูงอายุ และ 3) เพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสุนทรียสาธกเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการตนเองของผู้สูงอายุ ประชากรที่ใช้ศึกษาเป็นผู้สูงอายุในศูนย์บริการสาธารณสุขเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 14,958 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย  แบบวัดการบริหารจัดการตนเองของผู้สูงอายุ และรูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสุนทรียสาธกเพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการตนเองของผู้สูงอายุ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1)การบริหารจัดการตนเองของผู้สูงอายุจำนวน 400 คน มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสุนทรียสาธก เพื่อเสริมสร้างการบริหารจัดการตนเองของผู้สูงอายุ พัฒนาจากแนวคิดการเรียนรู้ทางจิตวิทยา 3 แนวคิดประกอบด้วย แนวคิดการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ แนวคิดการเรียนรู้จากตัวแบบและการเสริมแรง แนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน โดยปฏิบัติตามแนวคิดสุนทรียสาธก ประกอบด้วย ขั้นเริ่มต้น ขั้นดำเนินการ ขั้นสรุป และขั้นประเมินผลการเรียนรู้ 3) การบริหารจัดการตนเองของผู้สูงอายุกลุ่มทดลองที่ได้รับการการเรียนรู้ตามแนวคิดสุนทรียสาธก หลังการทดลอง และหลังการติดตามผลสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และ4)  ผลการสนทนากลุ่ม พบว่าผู้สูงอายุกลุ่มทดลองที่ได้รับการเรียนรู้ตามแนวคิดสุนทรียสาธก มีความพึงพอใจต่อการใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามแนวคิดสุนทรียสาธกเป็นอย่างมากที่ช่วยเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการบริหารจัดการตนเอง  และช่วยสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้สูงอายุกลุ่มทดลองตั้งใจที่จะพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางบวก

 

            The  purposes  of this research  were  1) to study  self  management of aging  persons, 2)  to develop  learning model  with  appreciative   inquiry  approach  for developing  self  management of aging  persons, and  3) to study  the effectiveness of the learning model with  appreciative   inquiry  approach  for developing  self  management of aging  persons. The population of this  study were 14,958 aging  persons of  the public health centers in Bangkok metropolis. The research instruments were 1) the self  management  scale and 2) the learning model with appreciative inquiry approach for developing self management of aging persons. The research results were as follows: 1)The total mean scores of self management of 400 aging  persons were high. 2) The learning  model with appreciative inquiry approach  for developing  self  management of aging  persons  included 3 psychological approaches: adult learning,  modeling and reinforcement, and problem based learning. Those approaches were  integrated with the appreciative inquiry. The learning  model  included initial  stage, working stage, termination stage, and evaluation stage.  3) The self  management of the experimental  group after participating  in the learning model  with  appreciative   inquiry  approach  and after  the follow up were significantly  higher than before  participating  in the learning model with  appreciative inquiry approach and higher than that of the control group  at the .01 level. 4) Focus group  report of  the experimental  group showed that they were satisfied with the learning model with appreciative  inquiry approach.  The model  efficacy could  greatly promote  new knowledge,  understanding, and skills  in  self  management. The learning model  could  greatly  encourage  commitment  to an ongoing  self  management  growth of positive change. 

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ