การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตนของสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี

Main Article Content

พนมพร เส็งผล

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตนของสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี  2) เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตนของสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี  3) เพื่อทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตนของสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี  และ  4)  เพื่อประเมินรูปแบบการส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตนของสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างในการทดลอง คือ เด็กหญิงบ้านราชวิถี อายุระหว่าง 7-15  ปี จำนวน 30 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามการเห็นคุณค่าแห่งตน รูปแบบการส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตนสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี แบบสอบถามความคิดเห็นต่อรูปแบบการส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตนสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี และแบบบันทึกการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติบรรยายเชิงพรรณนาค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย ( ̅x ) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติค่าทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test Dependent) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

           ผลการวิจัยพบว่า

             1.   รูปแบบการส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตนของสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถีที่พัฒนาขึ้น คือ  “SAENDEE Model” 7 ขั้นตอน คือ  ความสำคัญของการเห็นคุณค่าแห่งตน (Significance) การดำเนินกิจกรรมนาฏยศัพท์ (Activity) การร่วมกันสร้างสรรค์กิจกรรมจากความรู้สึก (Effective for innovation)การสร้างสรรค์ลักษณะที่ดี (Nicety) การพัฒนาการเรียนรู้ (Development) การพิสูจน์ตนเองและความเป็นตัวตน (Embody) และการนำเสนอนาฏศิลป์สู่สังคม (Expert) มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์3) กระบวนการ 4)  การนำไปใช้จริง  และ  5) การประเมินผล

 

             2.   ผลการทดลองใช้รูปแบบการส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตนของสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี“SAENDEE Model”  โดยแบบวัดการเห็นคุณค่าแห่งตนฉบับนักเรียน Stanley Coopersmith 4 ด้าน ประกอบด้วย  ด้านความสามารถ (Capable)  ด้านความสำคัญ (Significant)  ด้านความสำเร็จ (Successful) และด้านความมีคุณค่า (Worthy) มีค่าเฉลี่ยหลังการทดลอง ( ̅x = 4.56, S.D.= 0.28) สูงกว่าก่อนการทดลอง   (  ̅x= 3.89, S.D.= 0.53) ซึ่งพบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

             3.   ความคิดเห็นต่อรูปแบบการส่งเสริมการเห็นคุณค่าแห่งตนของสถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถีโดยรวมอยู่ที่ระดับมากที่สุด (  ̅x= 4.59, S.D.= 0.37)

 

          The purpose of this research were 1) to study and synthesize the study model for the self-esteem  promotion  model  at  Rajvithi  Home  for  Girls. 2)  to development of the self-esteem promotion model at Rajvithi Home for Girls.  3)  to participants tested the self-esteem promotion  model  at  Rajvithi  Home  for  Girls. ;  and  4)  to evaluate the  self-esteem model at Rajvithi Home for Girls.  The method were research and development. The experimental is one  group pretest - posttest design age range  between 7-15 years for 30 girls. The instruments were self-esteem questionnaires, the self-esteem promotion model, express an opinion questionnaires, observation  and  record  form. The data  were  analyzed by percentage, mean, standard deviation, t-test for dependent samples and content analysis.

           The research results were :

              1.  The SAENDEE Model through 7 steps : Significance, Activity, Effective for innovation, Nicety, Development, Embody and  Expert found  that self-esteem promotion  consisted  1) principle 2)  objective   3)  learning process   4)  Apply  and  5)  evaluation.

              2.  The evaluation of experiential learning “SAENDEE Model” after the experiment was higher (  ̅x= 4.56, S.D.= 0.28)  than before using the model (  ̅x= 3.89, S.D.= 0.53)  in the statistics  level .05.

              3.  The responsibility and the average mean of the girls opinion to wards learning Process, learning atmosphere and evaluation was at the highest level ( ̅x = 4.59, S.D.= 0.37).

Article Details

Section
บทความ : มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ